บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
สรุปผลการจัดซื้อ-จัดจ้าง
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

ลงทุนแล้วทำไมกำไรน้อยขาดทุนเยอะ




         
 


ลงทุนแล้วทำไมกำไรน้อยขาดทุนเยอะ

ปัญหาคาใจของผู้ลงทุนไม่ว่าจะมือเก่ามือใหม่คือ ลงทุนมาตั้งหลายปีแต่ยังไม่รวยสักที เวลาได้กำไรก็แค่หลักพันแต่พอขาดทุนกลับกลายเป็นหลักหมื่น มีจำนวนไม่น้อยที่โทษดวงบ้างโทษภาวะตลาดบ้าง แต่บอกได้เลยว่าการไปโทษสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเราเองนั้นไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย การจะแก้ปัญหานี้ได้คือการหาสาเหตุที่เกี่ยวกับตัวเราแล้วนำมาปรับปรุงจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมกว่า

จากประสบการณ์ที่ได้ให้คำแนะนำด้านการลงทุน พบว่าผู้ลงทุนรายย่อยมักพลาดตรงที่ใช้ “อารมณ์ความรู้สึก” เป็นตัวตัดสินใจลงทุนแทนการใช้เหตุผล ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า “อคติ (bias)” ลองสังเกตง่ายๆ ครับ หากราคาหุ้น ทองคำ หรือสินทรัพย์อื่นๆ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน แล้วเราเกิดความรู้สึกฮึกเหิมมั่นใจในภาวะตลาด แม้ว่าจะยังไม่ได้ศึกษาที่มาที่ไปของสถานการณ์นั้น หรือในทางกลับกันหากราคาปรับตัวลงอย่างมากแล้วเราเกิดความกลัวว่าจะขาดทุน ไม่กล้าติดตามภาวะตลาดอีกต่อไป สิ่งนี้บ่งบอกว่าเราถูกอารมณ์เข้าครอบงำ ไม่ได้ใช้การตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่เพียงพอ

 

เรื่องนี้เกิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสิ่งที่ได้ศึกษาไว้แล้วในเรื่องการเงินเชิงพฤติกรรม (Behavioral Finance) ซึ่งบทความนี้ขอยกตัวอย่างอคติที่มักพบบ่อย 3 เรื่องให้ท่านผู้อ่านได้ทำความเข้าใจและนำไปประยุกต์กับตนเอง ได้แก่ (1) “เสียดาย” ขาดทุนแล้วไม่กล้าตัดใจแม้รู้ว่าการถือต่อจะไม่เป็นประโยชน์ (2) “ยึดติด” ว่าราคาในอดีตที่น่าพึงพอใจจะกลับมาเหมือนเดิม ผสมกับเรื่องความกลัวที่จะสูญเสีย และ (3) “ใจเร็ว” กำไรนิดหน่อยทำให้เสียโอกาสทำกำไร

ความเสียดายเป็นอคติที่จะทำให้เราตัดสินใจแบบไม่เป็นเหตุเป็นผล ขอยกตัวอย่างสถานการณ์สุดคลาสสิกที่หลายคนน่าจะเคยเป็น เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อเราซื้อตั๋วเข้าไปนั่งดูหนังโดยคาดหวังว่ามันจะสนุกตื่นเต้นสมดังที่เทรลเลอร์ (ตัวอย่างหนัง) ว่าไว้ แต่แล้วพอฉายไปได้สักพักพบว่าไม่สนุกเอาเสียเลย คำถามคือเราจะเลือกทำอย่างไร ระหว่าง (ก) ทนนั่งดูต่อไปเพราะไหนๆ ก็เสียตังค์ซื้อตั๋วไปแล้ว กับ (ข) ตัดใจเดินออกจากโรงหนังไปหาอะไรอย่างอื่นทำ คนจำนวนมากจะเลือกข้อแรก คือทนดูไปทั้งที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลหลักก็คือเสียดายเงิน

สิ่งนี้ภาษาเทคนิคเรียกว่า Sunk Cost Fallacy หรือความเข้าใจผิดเรื่องต้นทุนที่จ่ายไปแล้ว จริงๆ หากพิจารณาตามหลักเหตุผลเราควรเลือกเดินออกจากโรงหนังมากกว่า เพราะค่าตั๋วที่จ่ายไปแล้วก็คือจ่ายไปแล้วไม่ว่าเราจะดูหนังหรือไม่ก็ตาม การที่เราทนนั่งในโรงหนังต่อไปย่อมแปลว่าเงินก้อนนั้นเราจ่ายไปเพื่อให้เกิดความทุกข์ เช่นเดียวกับการลงทุนที่เผอิญผิดทาง หากพิจารณาแล้วเห็นท่าไม่ดี ก็ควรตัดใจสับเปลี่ยนไปลงทุนสินทรัพย์อื่นที่มีแนวโน้มสร้างโอกาสใหม่ให้กับเราจะดีกว่า

 

สถานการณ์ต่อมาคือเมื่อราคาเริ่มร่วงลงไปเรื่อยๆ ผู้ลงทุนจะถูกอคติอีกตัวหนึ่งเข้าครอบงำเรียกว่า Anchoring Bias คำว่า Anchor แปลว่าทอดสมอเรือ อคตินี้หมายถึงการยึดติดกับราคาที่เคยเกิดขึ้นในอดีต กล่าวคือเมื่อราคาร่วงลงแล้ว เรามักจะอยากถือสินทรัพย์นั้นไว้ก่อน โดยหวังเล็กๆ ว่าราคาจะกลับขึ้นไปเหมือนเดิม ทั้งที่ในเวลานั้นปัจจัยพื้นฐานอาจจะเปลี่ยนไปแล้ว ทำให้เกิดตลาดอยู่ในภาวะขาลง ทำให้การตัดสินใจถูกบิดเบือน

เรื่องนี้พอผสมโรงกับอคติอีกตัวที่เรียกว่า Loss Aversion หรือการเลี่ยงการสูญเสีย ก็จะไปกันใหญ่ เพราะในเชิงการลงทุนแล้ว สมองเราตีความว่าขาดทุนหรือการได้กำไรน้อยกว่าเมื่อวานเป็นการสูญเสีย ดังนั้น เราจึงไม่ยินดีที่จะขายออกไป และเมื่อราคาปรับตัวลงเรื่อยๆ อันเนื่องจากภาวะขาลง สมองก็ยิ่งตีความว่าเจ็บปวดมากขึ้น และแสดงพฤติกรรมออกมาในเชิงการถือครองต่อไปแบบไม่มีเหตุผลเหมาะสม เช่น ปิดหน้าจอบ้าง ไม่อยากรับรู้ข่าวสารบ้าง จนสุดท้ายราคาร่วงลงในระดับที่ทนไม่ไหว จึงหาทางออกด้วยการตัดใจขายทิ้งซึ่งมักเป็นระดับที่ราคาต่ำมากแล้ว หากตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ก็ควรพิจารณาตัดใจขายแต่เนิ่นๆ เพื่อให้พอได้กำไรหรือไม่ก็ตัดขาดทุนก่อนที่สถานการณ์จะลุกลามใหญ่โต และเข้าซื้อในระดับที่ราคาต่ำ (แทนการขายออก) มากกว่า

ในทางกลับกัน ขณะที่สถานการณ์ตลาดทุนกำลังเป็นขาขึ้นและสามารถสร้างกำไรให้ได้นั้น ผู้ลงทุนที่ได้กำไรน้อยมักถูกอคติ Action Bias หรือการอยู่ไม่นิ่ง เข้าครอบงำ คือพอได้กำไรนิดหน่อยก็อยากเคาะขาย แทนที่จะรอจังหวะให้มูลค่าของสินทรัพย์ปรับตัวเพิ่มสะท้อนมูลค่าที่ควรเป็นตามภาวะตลาด หรือที่เรียกว่า Let Profit Run ซึ่งผู้ลงทุนต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จ มักเป็นผู้ที่อดทนรอคอยถือครองระยะยาวได้ (ลองศึกษาตัวอย่างเพิ่มเติมกรณีของเซอร์จอห์นเทมเพิลตัน – Sir John Templeton)

เมื่อรู้อย่างนี้แล้วควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลงทุนอย่างไรดี?

การจะกล้าขายก่อนที่ตลาดจะเป็นขาลงและอดทนรอคอยในช่วงตลาดขาขึ้น อาศัยลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ “สติ” และ “ปัญญา” ซึ่งอาจจะฟังดูเหมือนหลักธรรมในพุทธศาสนา การฝึกสติในทางธรรมคือการอยู่กับสภาวะปัจจุบัน รู้ทันว่ามีอารมณ์อะไรมากระทบ ส่วนสติในเชิงการลงทุนคือการรู้ตัวว่าการตัดสินใจแต่ละครั้งกำลังถูกครอบงำด้วยอคติหรืออารมณ์ใดอยู่ ไม่เช่นนั้นแล้วก็จะไม่เห็นสภาพตามความจริง ส่วนปัญญานั้นแสดงออกมาด้วยการกระทำ กล่าวคือการตัดสินใจนั้นมีเหตุผลที่เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งเราสามารถใช้วิธีจดลงในสมุดคล้ายไดอารี่ว่าซื้อขายวันนี้เพราะอะไรเพื่อจะได้กลับมาทบทวนตนเองได้ในวันหลังและสามารถปรับปรุงตัวเองต่อไปในอนาคต