บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
สรุปผลการจัดซื้อ-จัดจ้าง
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

ปัจจัยกำหนด “ค่าเงิน” (แข็งค่า-อ่อนค่า)



           


รู้หรือไม่ ค่าเงินแข็งค่า และอ่อนค่า ส่งผลต่อเงินในกระเป๋าของเราได้ ถ้าใครที่อยู่ในยุค Baby Boomer หรือ Gen B และยุค Generation X หรือ Gen-X จะทราบดีว่าค่าเงินในสมัยก่อนมีค่ามากกว่าปัจจุบัน เพราะอยู่ในช่วงที่ข้าวของราคาไม่แพง เงิน 100 บาท สามารถซื้ออะไรต่อมิอะไรได้เยอะกว่าปัจจุบัน แล้วอะไรล่ะ? ที่ส่งผลให้เป็นเช่นนั้นมาอ่านกันเลย 

 

ปัจจัยที่ส่งผลให้ค่าเงินแข็ง หรืออ่อน มีดังนี้ 

  1. อัตราดอกเบี้ย โดยปกติเงินทุนจะเคลื่อนไหวจากประเทศที่ “อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า” ไปประเทศที่ “อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า” เนื่องจากนักลงทุนมองว่าผลตอบแทนให้มากกว่าจากความเสี่ยงประเภทเดียวกัน แต่ในท้ายที่สุดแล้วอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนของทั้งสองประเทศ เช่น 

หากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลง ส่งผลให้มีเงินลงทุนเคลื่อนย้ายเข้าประเทศไทยมากขึ้น เงินทุนที่เคลื่อนย้ายเข้ามา จะถูกแลกเป็นเงินบาททำให้ความต้องการซื้อเงินบาทสูงขึ้น ค่าเงินบาทจึงแข็งค่าขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากอัตราดอกเบี้ยไทยปรับตัวลดลง จะส่งผลให้มีเงินทุนไหลออก จึงมีความต้องการขายเงินบาทเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้น เงินบาทจึงอ่อนค่าลง 

ดังนั้น ค่าเงิน แข็งค่า” อาจทำให้ธนาคารกลางคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงินลดลง สถาบันการเงินจึงสามารถลดดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีแรงจูงใจกู้ยืมเพื่อนำไปลงทุนสูงขึ้นจากต้นทุนกู้ยืมที่ลดต่ำลง ขณะเดียวกัน ดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำลงจะทำให้ผู้ออม อาจนำเงินไปลงทุนในช่องทางอื่น ๆ เช่น ตราสารหนี้ หุ้น หรือนำไปใช้จ่ายแทน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้คึกคักมากขึ้น 

และหากค่าเงินอ่อนค่า” อาจทำให้ธนาคารกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงินปรับเพิ่มขึ้น ภาคธุรกิจหรือผู้ประกอบการได้รับผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นเพราะภาระการจ่ายดอกเบี้ยสูง ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว เมื่อดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้น จะกลายเป็นแรงจูงใจให้ผู้ออมนำเงินมาฝากมากขึ้น และลดการใช้จ่ายล 


  1. ดุลการคาและการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ หากประเทศไทยเกินดุลการค้า คือ มีมูลค่าส่งออกมากกว่ามูลค่านำเข้า หรือ มีเงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศมาก ๆ ประเทศก็จะมีเงินดอลลาร์ฯ “มากขึ้น” เงินทุนที่ย้ายเข้ามาจะถูกแลกจากเงินดอลลาร์ฯ เป็นเงินบาท ทำให้ความต้องการเงินบาทเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เงินบาทมีค่าเพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทจึงแข็งค่ามากขึ้น 

หากประเทศไทยขาดดุลการค้า คือ มีมูลค่าส่งออกน้อยกว่านำเข้า หรือ มีเงินทุนเคลื่อนย้ายออกจากประเทศมาก ๆ ก็จะทำให้ประเทศมีเงินดอลลาร์ฯ “น้อยลง” มีความต้องการแลกเงินบาทเป็นเงินดอลลาร์ฯ เพื่อนำออกนอกประเทศมากขึ้น ส่งผลให้เงินบาทมีค่าลดลง ค่าเงินบาทก็จะอ่อนค่า 


  1.     นโยบายการเงินของธนาคารกลาง 

ธนาคารกลางของประเทศไทย ก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถกำหนดปริมาณเงินบาทในระบบการเงินผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น มาตรการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง และการดำเนินการผ่านตลาดการเงิน เป็นต้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะส่งผลให้อุปสงค์และอุปทานของเงินบาทเปลี่ยนแปลงไป และทำให้ค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงตามนโยบายที่กำหนด เช่น  

ธนาคารกลางเห็นว่าเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงเกินไป จึงกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมายเพิ่มขึ้น ทำให้เงินที่ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้มีจำนวนลดลง ส่งผลให้ปริมาณเงินบาทในประเทศลดลงตาม จึงเปรียบเสมือนกับการลดความต้องการหรือปริมาณของเงินบาททำให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้น 

และหากธนาคารกลางเห็นว่าเงินฝืดอยู่ในระดับสูงเกินไป จึงกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ลดระดับอัตราดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น เปรียบเสมือนการเพิ่มความต้องการของเงินบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลง 


  1. ปัจจัยอื่น   นอกเหนือจากปัจจัยข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อค่าเงินบาท เช่น ความไม่มั่นคงทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ เป็นต้น 




ปัจจัยที่กล่าวข้างต้น จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินในกระเป๋าของเรา ซึ่งค่าเงินจะเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงอำนาจในการซื้อ ว่าจะได้สิ่งของจำนวนมากหรือน้อย เช่น ในอดีตเราซื้อข้าวกล่อง กล่องละ 20 - 25 บาท แต่ปัจจุบันถ้าจะซื้อข้าวกล่อง เราจะต้องจ่ายเงินประมาณ 40 – 50 บาท แล้วเพราะอะไรที่เราต้องจ่ายเงินแพงขึ้น ก็เพราะต้นทุนในการผลิต เช่น เนื้อหมูที่ใช้ในการทำอาหารให้เรา ต้นทุนก็มาจากอาหารสัตว์ที่ใช้ในการเลี้ยงเพื่อให้ได้หมูตัวใหญ่ ๆ และยารักษาโรค ซึ่งส่วนใหญ่ มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ หรือทองคำก่อนปี 2550 เราใช้เงินหลักพันในการซื้อทองหนึ่งบาท แต่ปัจจุบันเราต้องใช้เงินหลักหมื่นในการซื้อทองหนึ่งบาท เหล่านี้ล้วเกิดจากต้นทุนการนำเข้าที่ทำให้ราคาปรับสูงขึ้น ดังนั้น ค่าเงินจึงมีความสำคัญและมีอำนาจกำหนดการซื้อ ซึ่งมีความผันผวนไปตามปัจจัยที่กล่าวข้างต้น เราจึงก็ควรตระหนักและหาหนทางที่จะทำให้เงินในกระเป๋าของเรายังคงมีอำนาจในการซื้อ เช่น การนำเงินไปลงทุนให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น เพื่อรักษาค่าเงินให้เท่าเดิมหรือมากกว่า