บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
สรุปผลการจัดซื้อ-จัดจ้าง
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

การลงทุนแบบ DCA กับ Timing แบบไหนที่ใช่สำหรับเรา





            อย่างที่ทราบกันดีว่าผลตอบแทนที่ได้รับจากการฝากเงินไว้ที่ธนาคารนั้นอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก หรืออาจจะต่ำกว่าที่คาดการณ์ไวจึงทำให้หลายคนเริ่มมองหาทางเลือกใหม่ๆ ที่ทำให้เงินงอกเงยขึ้น การลงทุนจึงเป็นทางออกและทางเลือกที่น่าสนใจอันดับต้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และสินทรัพย์ทางเลือกอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่มากกว่า  

            แล้วเงินที่มีควรนำไปลงทุนเมื่อไหร่ ใช้กลยุทธ์อย่างไรเพื่อให้เหมาะกับเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งแต่ละคนมีเป้าหมายแตกต่างกัน การลงทุนที่เหมาะสมของแต่ละคนก็ย่อมที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นก่อนจะเริ่มลงทุนเรามาทำความรู้จักรูปแบบหรือกลยุทธ์การลงทุนเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจกันก่อน 


โดยทั่วไปรูปแบบในการลงทุนที่เป็นที่นิยมหลักๆ จะมีอยู่  2 รูปแบบ คือ  

            1. การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุนหรือทยอยการลงทุน Dollar Cost Average (DCA)

            2. การลงทุนแบบจับจังหวะการลงทุน Market Timing 


                        การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุนหรือทยอยการลงทุน Dollar Cost Average (DCA) คือ การลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่าๆ กันในแต่ละงวด การลงทุนอาจกำหนดความถี่ เช่น รายปี รายไตรมาส หรือรายเดือน ส่วนมากที่นิยมกันจะใช้เป็นรายเดือน โดยไม่สนใจราคาของสินทรัพย์ที่ลงทุนหรือราคาของหน่วยลงทุนจะเป็นอย่างไร  


            ข้อดีของ DCA   

              • ช่วยสร้างวินัยในการออมและลงทุนอย่างสม่ำเสมอ 

                  • ระจายความเสี่ยงในการเข้าซื้อมีโอกาได้ต้นทุนเฉลี่ยต่ำ ซึ่งกระจายเงินลงทุนเท่าๆกันในทุกตลาดทั้งในช่วงราคาสูงและต่ำ เป็นการตัดอารมณ์ออกจากการตัดสินใจลงทุน  

                        • ไม่ต้องติดตามข่าวสารหรือราคามากนัก 

                              • ในช่วงตลาดขาลงจะทำให้ได้จำนวนหุ้นหรือหน่วยลงทุนมากขึ้นโดยใช้เงินจำนวนเท่าเดิม 

                                • การลงทุนระยะยาวช่วยลดความผันผวนจากการลงทุนได้   

                                              ข้อควรระวัง  

                                    •  ในช่วงตลาดขาขึ้นอาจได้จำนวนหุ้นหรือหน่วยลงทุนน้อยกว่าการลงทุนเป็นก้อนครั้งเดียว  

                                      • อาจเห็นผลตอบแทนช้าเพราะเป็นการสะสมหรือทยอยลงทุนด้วยเงินลงทุนทีละน้อย  

                                                  การลงทุนแบบ DCA เหมาะกับใคร  

                                            • ผู้ที่เริ่มลงทุน   
                                            • ผู้ที่มีเงินลงทุนน้อย 

                                              • ผู้ที่ต้องการลงทุนระยะยาว  

                                                • ผู้ที่ไม่มีเวลาติดตามสถานการข่าวสาร  



                                                                        การลงทุนแบบจับจังหวะการลงทุน Market Timing คือ การลงทุนด้วยการเลือกจังหวะหรือหาเวลาลงทุนที่ดีที่สุด เช่น พยายามหาโอกาสซื้อหุ้นในราคาต่ำเพื่อเข้าลงทุน ด้วยการประเมินทิศทางการตลาดโดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหรือปัจจัยด้านเทคนิค จากนั้นนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์มาประกอบการตัดสินใจเลือกลงทุน   


                                                                    ข้อดี  

                                                • เพิ่มโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดี ในช่วงตลาดขาขึ้น
                                                • เลือกลงทุนได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว  

                                                                    ข้อควรระวัง

                                                • มีโอกาสที่จะขาดทุนหากเข้าลงทุนผิดจังหวะ  

                                                                    การลงทุนแบบ Market Timing เหมาะกับใคร

                                                • ผู้ที่มีเงินก้อนและรอจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม
                                                • ผู้ที่มีความรู้เรื่อการวิเคราะห์ทางเทคนิคต่างๆ
                                                • ผู้ที่สามารถวิเคราะห์หรือประเมินภาวะเศรษฐกิจได้อย่างแม่นยำ 



                                                แล้วแบบไหนดีกว่ากัน ระหว่าง DCA กับ Market Timing   

                                                ในด้านของผลตอบแทนและความเสี่ยง การลงทุนแบบ Market Timing มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่มากกว่าในบางจัหวะ หากผู้ลงทุนสามารถจับจังหวะได้แม่นยำ แต่ก็มีโอกาสขาดทุนได้มากกว่าเมื่อเข้าผิดจังหวะ ส่วนการลงทุนแบบ DCA แม้จะมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่น้อยกว่าในบางจังหวะ แต่ในระยะยาวก็สามารถถัวเฉลี่ยต้นทุนหรือช่วยลดความเสี่ยงจาการเข้าลงทุนผิดจังหวะได้ หากตลาดขาลงก็ทำให้ขาดทุนน้อยกว่าด้วยเช่นกัน   

                                                ในด้านของจำนวนเงินลงทุนแบบ DCA เป็นการลงทุนแบบต่อเนื่องใช้เงินลงทุแต่ละครั้งจำนวนไม่มาก เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นลงทุนหรือต้องการสะสมเงินลงทุนสม่ำเสมอหรือต้องการเฉลี่ยต้นทุนจากการลงทุน ส่วนการลงทุนแบบ Market Timing เป็นการลงทุนด้วยเงินก้อน เหมาะกับผู้ที่มีความพร้อมและต้องการรอจังหวะลงทุนตามที่ต้องการ 

                                                จริงๆ แล้วทั้ง 2 รูปแบบนี้มีข้อดีและข้อควรระวังที่แตกต่างกันออกไป การจะเลือกกลยุทธ์รูปแบบไหนขึ้นอยู่กับความพร้อมของเงินและความพร้อมของแต่ละบุคคล บางคนอาจจะอาจจะเลือกรูปแบบใดรูแบบหนึ่ง หรืออาจเลือกใช้วิธการลงทุนโดยการผสมกันทั้ง 2 รูปแบบในการเข้าลงทุนเลยก็ได้ สำหรับสมาชิก กบข. การนำส่งเงินลงทุนเข้ามาที่ กบข. สม่ำเสมอทุกเดือน เป็นการลงทุนแบบ DCA ซึ่งช่วยถัวเฉลี่ยต้นทุนและเหมาะกับการลงทุนระยะยาว ส่วนสมาชิกท่านใดที่มีเงินก้อนหรือมีความพร้อมด้านการลงทุนอาจพิจารณาเลือกลงทุนแบบ Market Timing ในกองทุนรวมหรือลงทุนในตลาดหุ้ เนื่องจากสามารถซื้อหรือขายจับจังหวะที่ต้องการได้ ที่สำคัญไม่ว่าจะเลือกรูปแบบการลงทุนแบบไหน อย่าลืมว่าทุกการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนการตัดสินใจลงทุนและเลือกรูปแบบการลงทุนให้เหมาะกับแต่ละเป้าหมาย