บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
สรุปผลการจัดซื้อ-จัดจ้าง
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

เงินเฟ้อมา ดอกเบี้ยขึ้น ส่งผลต่อการลงทุนอย่างไร





           


 

ฉบับที่แล้วเราได้พูดถึงสาเหตุของการเกิดเงินเฟ ส่วนหนึ่งก็มาจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นมามากเมื่อเทียบกับปีก่อนและรวมถึงผลกระทบจากเงินเฟ้อที่มีต่องินในกระเป๋าของเราทำให้ต้องใช้เงินมากขึ้นเพื่อซื้อของในปริมาณเท่าเดิม นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการลงทุน และมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดการลงทุนอีกด้วย  


เงินเฟ้อ แล้วทำไมต้องขึ้นดอกเบี้ย  

ความเป็นจริงแล้วการเกิดเงินเฟ้อถือว่าเป็นเรื่องดี นั่นหมายถึงสัญญานที่แสดงถึงการขยายตัวทางเศรษกิจ ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดในการกำหนดนโยบางทางเศรษฐกิจ แต่เมื่อใดก็ตามที่ประเทศใดมีการคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อมีนวโน้มจะสูงขึ้นมากเกินไป ก็จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศตัวเลขเงินเฟ้อสูงถึง 7.5% จึงมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2565 นี้ เมื่อมีการปรับดอกเบี้ยนโยบายก็จะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามไปด้วย    


เงินเฟ้อ กระทบต่อสินทรัพย์ลงทุนอะไรบ้าง อย่างไร  

นอกจากเงินเฟ้อจะมีผลต่อการปรับขึ้น หรือลงลงของอัตรดอกเบี้ยแล้ว เงินเฟ้อยังมีผลกระทบต่อผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ เราอาจจะเคยได้ยินว่า “อัตราดอกเบี้ยลง ตลาดหุ้นจะขึ้น อัตราดอกเบี้ยขึ้น ตลาดหุ้นจะลง” จะเห็นได้ว่าหากอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจากการลงทุนในสินทรัพย์นั้นอาจลดลงหรือติดลบ และไม่ใช่แค่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นเท่านั้น ยังมีผลกระทบต่อสินทรัพย์ลงทุนอื่น อีกดังนี้  

 

พันธบัตร หุ้นกู้ หรือตราสารหนี้ ราคาจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง เนื่องจากดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในตราสารหนี้ชุดเดิมที่ผู้ลงทุนถืออยู่มีอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้หน้าตั๋วน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ชุดใหม่ จึงมีความน่าสนใจลดลง หากผู้ถือตราสารต้องการขายตราสารชุดเดิมออกไปแล้วมาซื้อตราสารหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเดิม ต้องขายตราสารในราคาที่ต่ำลงเพื่อจูงใจผู้ซื้ใหม่ ส่งผลใหู้้ที่ยังถือพันธบัตรหรือตราสารหนี้ชุดเดิมมีมูลค่าลดลงตามไปด้วย ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นตราสารหนี้ระยะสั้นจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าตราสารหนี้ระยะยาว  


หุ้น ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้นย่อมส่งผลเสียต่อตลาดหุ้น เนื่องจากการปรับเพิ่มดอกเบี้ยส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทมีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นจะทำให้ผลตอบแทนการลงทุนที่แท้จริงปรับลดลง ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นจะต่ำลง อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นของดอกเบี้ยก็จะมีทั้งผลดีและผลเสียต่ออุตสหกรรมบางกลุ่ม เช่น กลุ่มธนาคาร จะได้รับประโยชน์จากสินเชื่อที่ขยายตัวตามอุปสงค์ที่ดีขึ้น และขณะเดียวกันรายรับที่เป็นดอกเบี้ยก็สามารถปรับตัวขึ้นได้จากสินเชื่อระยะยาว เนื่องจากเป็นการปล่อยกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยลอยตัว สำหรับหุ้นกลุ่มอาหารและกลุมสินค้าโภคภัณฑ์ การปรับของราคาสินค้าจะช่วยให้รายได้และกำไรของบริษัทได้รับผลกระทบน้อย เป็นต้น ส่วนหุ้นหรือบริษัทที่มีหนี้สินในระดับสูงควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากมีความเสี่ยงในภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ทั้งนี้การปรับอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลต่อตลาดหุ้นในระยะสั้น แต่ไม่มีผลในระยะยาวเนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นกิจกรรมที่ทำให้ช่วงที่เศรษฐกิจมีความผันผวน สิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกหุ้นคืพื้นฐานของกิจการที่มีการเติบโตของรายได้และกำไรในอนาคต  


ทองคำ การลงทุนในทองคำเป็นตัวเลือกที่หลายคนสนใจ เพราะทองคำมีมูลค่าในตัวเอง มีสภาพคล่องมาก และเปลี่ยนเป็นเงินสดง่ายเมื่อเทียบกับการลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ และอัตราผลตอบแทนจากทองคำหลายคนมองว่าได้ผลตอบแทนไปในทิศทางเดียวกับอัตราเงินเฟ้อ เมื่อเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ราคาทองทำก็มักจะปรับตัวสูงขึ้นตาม ดังนั้นทองคำจึงถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่สามารถใช้ป้องกันเงินเฟ้อได้ 


อสังหาริมทรัพย์ เมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงต้นทุนในการก่อสร้างก็จะสูงไปด้วย ทำให้การปลูกสร้างบ้านหรือการพัฒนาต่าง ๆลดลง แต่จะส่งผลดีกับบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ที่มีลักษณะของสัญญาเช่าสั้น ๆ หรือสังหาที่ถือครองอยู่แล้วสามารถปรับราคาขึ้นตามไปด้วย ยิ่งเงินเฟ้อสูงก็จะทำให้ผู้ลงทุนหันมาสนใจลงทุนในอสังหาฯ มากขึ้น เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ต่อสู้กับเงินเฟ้อได้ดี และทำผลตอบแทนได้ดีในช่วงที่เกิดเงินเฟ้อ 

 

เงินเฟ้อ ส่งผลต่อการลงทุนของ กบข. อย่างไร  

การลงทุนของ กบข. เน้นการลงทุนกระจายหลาหลายสินทรัพย์ เช่น เงินฝากและตราสารหนี้ระยะสั้น ตราสารหนี้ หุ้นในประเทศ หุ้นต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ และสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ น้ำมัน เนื่องจากการลงทุนของ กบข. เป็นการลงทุนโดยมุ่งเน้นผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ซึ่งสินทรัพย์ที่ กบข. ลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือ หุ้นของบริษัทที่มีพื้นฐานดี มีผลประกอบการดีสม่ำเสมอ และเป็นธุรกิจชั้นนำของโลก แต่มูลค่าของสินทรัพย์ต่าง นี้จะถูกประเมินราคาตามราคาตลาดและคำนวณเป็นมูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) ดังนั้นหากดูมูลค่าของสินทรัพย์ในระยะสั้น สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้นอาจจะปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ทำให้มูลค่าต่อหน่วยปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงตาม ส่งผลต่อยอดเงินในบัญชีของสมาชิก  

ดังนั้น กบข. จึงมีแผนลงทุนให้สมาชิกเลือกตามระดับความเสี่ยงที่สมาชิกแต่ละคนสามารถยอมรับได้ ซึ่งในแต่ละแผนการลงทุนมีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรือสินทรัพย์อื่น ๆ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ดีสินทรัพย์ที่ กบข. ลงทุนส่วนใหญ่ซึ่งกระจายอยู่ในหลายแผนการลงทุน คือ ตราสารหนี้และหุ้น 

  

ภาวะเงินเฟ้อส่งผลต่อตราสารหนี้อย่างไร 

ตราสารหนี้ที่ กบข. ลงทุนอยู่ในแผนการลงทุนต่าง ๆ เช่น แผนตราสารหนี้ แผนหลัก แผนหุ้น 35 แผนหุ้น 65 หรือ แผนสมดุลตามอายุ แต่ละแผนการลงทุนจะมีสัดส่วนของตราสารหนี้แตกต่างกันขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนในแต่ละแผน โดยในระยะสั้นสมาชิกที่เลือกแผนลงทุนที่มีตราสารหนี้ผสมอยู่อาจเห็นยอดเงินในบัญชีปรับลดลงได้ เนื่องจากมูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) ของแผนลงทุนปรับลดลง ซึ่งมูลค่าต่อหน่วยนี้เป็นมูลค่าที่ถูกประเมินตามราคาตลาด (Mark to Market) แต่จำนวนหน่วยของสมาชิกยังคงเท่าเดิม หากสมาชิกนำส่งเงินเข้ามาใหม่ในแต่ละเดือนก็จะได้รับจำนวนหน่วยที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดีตราสารหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ยังคงได้รับดอกเบี้ยเช่นเดิม เมื่อครบอายุก็ได้รับเงินต้นคืน และเมื่อ กบข. ลงทุนในตราสารหนี้ใหม่ก็ได้รับดอกเบี้ยที่สูงขึ้น มูลค่าก็กลับมาเพิ่มขึ้นได้  

 

ภาวะเงินเฟ้อส่งผลต่อหุ้นอย่างไร  

หุ้น หรือตราสารทุนที่ กบข. ลงทุนในแผนการลงทุนต่าง ๆ เช่น แผนหลัก แผนหุ้น 35 แผนหุ้น 65 แผนสมดุลตามอายุ แผนหุ้นต่างประเทศ และแผนหุ้นไทย ปัจจุบันภาวะเงินเฟ้อของสหรัฐปรับสูงขึ้นถึง 7.5% ซึ่งสูงกว่าระดับปกติ ทำให้เกิดภาวะราคาสินค้าและบริการปรับราคาแพงขึ้นจนนำไปสู่ความกังวลว่าจะเกิดภาวะฟองสบู่แตกหรือไม่ จึงมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2565 นี้ นักลงทุนจึงเริ่มเคลื่อนย้ายเงินลงทุนออกจากตลาดหุ้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงโดยเฉพาะตลาดหุ้นประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงทำให้ในระยะสั้นนี้สมาชิกที่เลือกแผนลงทุนที่มีหุ้นผสมอยู่อาจจะเห็นยอดเงินบัญชีปรับลดลงได้ ยิ่งมีสัดส่วนหุ้นมากยอดเงินก็อาจลดลงมากตามไปด้วย เนื่องจากมูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) ของแผนลงทุนปรับลดลง ซึ่งมูลค่าต่อหน่วยนี้เป็นมูลค่าที่ถูกประเมินตามราคาตลาด (Mark to Market) แต่จำนวนหน่วยลงทุนของสมาชิกยังคงเท่าเดิม หากสมาชิกนำส่งเงินเข้ามาใหม่ในแต่ละเดือนก็จะได้รับจำนวนหน่วยลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้หากอ้างอิงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเมื่อมีความชัดเจนเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะทำให้ตลาดหุ้นกลับสู่ภาวะปกติ ก็จะทำให้ยอดเงินของสมาชิกกลับมาเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากหุ้นที่ กบข. ลงทุนเป็นหุ้นพื้นฐานดี  

แม้ว่าระดับเงินเฟ้อในประเทศไทยจะอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เมื่อเศรษฐกิจเริ่มที่จะฟื้นตัว เงินเฟ้อก็อาจจะเพิ่มขึ้น สิ่งสำคัญของการลงทุน คือการกระจายความเสี่ยง เพราะแต่ละสินทรัพย์ลงทุนมีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ดังนั้นการศึกษาหาข้อมูลและวางแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้จะสามารถช่วยสร้างโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวและที่สำคัญสามารถชนะเงินเฟ้อได้เพื่อให้เรามีเงินใช้อย่างเพียงพอในยามเกษียณ