บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
สรุปผลการจัดซื้อ-จัดจ้าง
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

ตั้งเป้าหมายการเงินฉบับนักช้อป พิชิตของที่อยากได้ แบบไม่กระทบเงินในกระเป๋า





           


 

นักช้ออย่างเราๆ ถ้าเจอป้ายหน้าร้านว่า SALE SALE SALE ก็แทบจะอดใจไม่ไหว ต้องเดินเฉี่ยวหน้าร้าน หรือเข้าไปดูในร้านกันเป็นแน่ และถ้ายิ่งของดีราคาโดนใจแล้วะก็ ยิ่งเป็นเรื่องยากที่จะห้ามใจกันอยู่ การซื้อของที่อยากได้ไม่ได้เป็นเรื่องเสียหาย และการช้อปปิก็เป็นการใช้จ่ายที่สามารถวางแผนได้ เพราะเราจะรู้ล่วงหน้าอยู่แล้วว่าจะต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง ดังนั้น ถ้าไม่อยากชอปจนเงินหมดกระเป๋าก็ต้องใช้เงินอย่างมีแผนและมีสติ เพื่อที่จะได้มีเงินเหลือเก็บเหลือใช้ แถมได้ของอย่างที่ใจต้องการ แต่การใช้จ่ายเงินออกไปโดยที่ไม่วางแผน ก็จะกระทบกับเงินที่มีอยู่ในกระเป๋าหรือเงินเก็บของเราได้ วันนี้จึงมาชวนตั้งเป้าหมายการเงินฉบับนักช้อป พิชิตของที่อยากได้ แบบไม่กระทบเงินในกระเป๋ากันเถอะ.... 


จัดสรรเงินก่อนใช้จ่าย 



ส่วนที่หนึ่ง เงินที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ในเงินส่วนที่หนึ่งนี้ เป็นส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุดเนื่องจากว่าเป็นเงินที่เราจะต้องใช้ในการดำรงชีพในแต่ละเดือน ควรจะแบ่งเงินเดือนให้กับส่วนนี้ประมาณ 50% เป็นค่าใช้จ่ายในบ้านรวมไปถึงค่ากินค่าอยู่ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมันรถ ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็จะถูกรวมมาไว้ในส่วนนี้ทั้งหมด  

ส่วนที่สอง เงินเก็บออมเพื่อการลงทุน การนำเงินไปลงทุนเพื่อให้เงินได้งอกเงยขึ้นมา เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากเลย เพราะการมีรายได้หรือรายรับจากงานประจำเพียงทางเดียว มันไม่ได้ช่วยให้เรามีความมั่นคงสักเท่าไหร่ อีกทั้งการที่เราจะหารายได้เสริม มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน ฉะนั้นแล้วการใช้เงินทำเงินจึงเป็นความคิดที่ดีไม่น้อย โดยเราควรแบ่งเงินส่วนนี้ไว้สัก 25 เปอร์เซ็นต์เพื่อนำไปงทุนในทุกๆ เดือน ให้เงินสามารถสร้างผลตอบแทนงอกเงยเพิ่มขึ้นได้  

ส่วนที่สาม เงินที่มีไว้ใช้สร้างความสุข บางครั้งการใช้เงินเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตมากเกินไป ก็ทำให้เราพลาดความสุขความสนุกในชีวิต ฉะนั้นแล้ว เราจึงควรแบ่งส่วนหนึ่งสัก 20 เปอร์เซ็นต์ ไปสร้างความสุขให้กับตัวเอง เช่น บางคนก็มีความสุขที่จะได้ลิ้มรสกาแฟ บางคนก็มีความสุขที่ได้ซื้อเสื้อผ้า หรือบางคนชอบท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่าง ๆ  

 ส่วนที่สี่ เงินเพื่อการแบ่งปัน เราอาจจะรู้สึกแปลกไม่น้อยกับการที่จะต้องแบ่งเงินของตัวเองออกมา 5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อใช้ในส่วนนี้ แต่มั่นใจได้เลยว่ามันจะตัวช่วยสร้างความรู้สึกดี ให้กับเราได้ เพราะการได้ใช้เงินเพื่อแบ่งปันความสุขให้คนอื่น เพื่อทำบุญ บริจาค สมทบทุนช่วยเหลือหรือแม้แต่เลี้ยงขนมคนแปลกหน้าที่กำลังหิวก็ช่วยให้เรามีความสุขไม่น้อยเล 

 

  1. ตั้งเป้าหมายก่อนช้อปปิ้ง  

เมื่อจัดสรรเงินเรียบร้อบแล้ว ก็ต้องตั้งเป้าหมายงบประมาณการช้อปให้ชัดเจน การช้อปปิ้งครั้งนี้เราต้องการซื้ออะไร วงเงินเท่าไหร่เพราะถ้าไม่มีการกำหนด การช้อปปิ้งจะกลายเป็น อยากได้อะไรก็จัดเต็มไปหมด เยอะจนเกินความจำเป็น เกิดการซื้อของชนิดเดียวกันซ้ำ ๆ ยิ่งถ้ามีบัตรเครดิต ยิ่งแล้วใหญ่อาจทำให้รูดรื๊ดๆๆ เพลินไปเลย สุดท้ายเงินไม่พอจ่าย จนสร้างความลำบากให้หากจำเป็นต้องใช้เงินในวันหน้า  


  1. เปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจซื้อ  

เมื่อวางแผนเสร็จแล้วว่าจะซื้ออะไร ทีนี้ก็ได้เวลาที่เราจะต้องเริ่มสืบราคาว่าของที่เราอยากได้นั้น มีขายที่ไหนบ้าง และแต่ละที่ราคาประมาณเท่าไหร่ อาจจะเช็คราคาจากอินเทอร์เน็ต หรืออาจจะแอบไปสำรวจดูก่อนก็ได้ว่ามีร้านไหนขายบ้าง ราคาเท่าไหร่ แล้วค่อยกลับมาตัดสินใจเลือกร้านที่ถูกและดีที่สุด  


  1. รอลดราคา  

เราต้องฝึกตัวเองให้รอได้ รอช้อปปิ้งตอนลดราคา บางช่วงห้างสรรพสินค้าลดราคา 20-70 เปอร์เซ็นต์ รับรองว่าได้ของที่ถูกใจและราคาประหยัด  


  1. หาเพื่อนช่วยหารไปช้อปร้านขายส่ง 

หาเพื่อนรวมอุดมการณ์ช้อปปิ้ง แล้วก็เลือกแหล่งช้อปปิ้งแบบขายส่ง อย่าง แพลตตินั่มแฟชั่นมอลล์ ประตูน้ำ สำเพ็ง รับรองว่ามีให้เลือกเพียบ เรียกได้ว่าทั้งราคาถูก ทั้งถูกใจอีกด้วย 


  1. รู้แหล่งช้อปปิ้งดี ๆ ได้ของถูกกว่าในห้างสรรพสินค้า  

อยากได้ของดีไม่จำเป็นต้องเข้าห้างสรรพสินค้าเสมอไป ของดีราคาถูกยังคงมีอยู่จริง แต่อาจจะแฝงตัวอยู่ตามตลาดนัด เช่น จตุจัตร หรือตลาดนัดใหญ่ เป็นต้น หากจะช้อปปิ้งแบบสบายกระเป๋า ก็ต้องลงทุนเดินสำรวจกันหน่อย แถมได้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอีกด้วย 


  1. ใช้เงินสด  

หลักเลี่ยงการช้อปปิ้งแบบใช้บัตรเครดิต เพราะอาจทำให้ใช้เพลินจนไม่รู้ลิมิตของตัวเอง แนะนำให้ใช้เงินสดที่มีในกระเป๋า เพราะเราจะรู้ทันทีว่ามีเงินเหลือเท่าไหร่ เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ หรือไม่ยกเว้นกรณีได้ประโยชน์จากการสะสมคะแนนและได้ส่วนลดเพิ่ม แต่ก็อย่าให้โปรโมชั่นเหล่านี้ทำให้เราเสียแผในการช้อปปิ้งเด็ดขาด 


  1. อย่าช้อปเพราะแค่ของถูก  

หลายคนเจอป้าย SALE ไม่ได้เป็นต้องวิ่งเข้าใส่ เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า จำเป็นหรือไม่จำเป็นไม่รู้ รู้แต่ว่าลดราคา จริงอยู่สินค้าลดราคาจะช่วยเราประหยัด แต่ไม่เสมอไป ถึงซื้อมาเยอะแค่ไหน ถูกแค่ไหน ถ้าไม่ค่อยได้ใช้ ยังไงก็เป็นการสิ้นเปลืองอยู่ดี ดังนั้นเบรคตัวเองด้วยก่อนเช็คดูก่อนว่าของลักษณะเดียวกันนี้เรามีแล้วหรือยัง 

 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเทคนิคฉบับนักช้อป พิชิตของที่อยากได้ แบบไม่กระทบเงินในกระเป๋า ช้อปแบบไหนให้มีเงินเหลือ สำหรับทุกๆ คนได้เป็นแนวทางในการช้อปปิ้งกันอย่างสบายใจ ขอให้ทุกคนใช้เงินอย่างมีสติ และอย่าลืมออมเงินเก็บไว้ด้วยนะ