บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
สรุปผลการจัดซื้อ-จัดจ้าง
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

“เงินเฟ้อ” คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรต่อเงินในกระเป๋าของเรา





           


 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราอยู่ใน ยุคข้าวของแพง โดยจะเห็นได้จากในช่วงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ราคาสินค้าและบริการมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและมีแนวโน้มจะทรงตัวไปอีกระยะ โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอาหารสด  ได้แก่ กลุ่มของเนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ และสัตว์น้ำ  รวมถึงค่าน้ำมัน ค่าโดยสารสาธารณะ ทั้งหมดนี้ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อสูงมีอัตราที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า และยิ่งเพิ่มความชัเจนขึ้นเมื่อสหรัฐประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น มาถึงตรงนี้หลายคงสังสัยกันว่า ราคาข้าวของแพงขึ้เกี่ยวอะไรกับเงินเฟ้อ วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกัน เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์เงินเฟ้อมากขึ้น 

 

เงินเฟ้อคืออะไร? 


เงินเฟ้อ คือ ช่วงที่ภาวะของราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปมีราคาเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหาเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมากๆ ก็จะกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ขอประชานชนอย่างเราทำให้มีกำลังซื้อที่ลดน้อยลง และส่งผลกระทบต่อสาพเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย  

 


สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ 


    เกิดจากความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น (Demand-pull inflation) ความต้องการมากขึ้นแต่สินค้าผลิตออกมาไม่ทัน ไม่เพียงพอกับความความต้องการที่มีในตลาด ทำใหราคาสินค้าละบริการนั้นมีราคาปรับตัวสูงขึ้น  


  1. เกิดจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น (Cost-push inflation) เช่น วัตถุดิบต่างๆที่ใช้ในการผลิตสูงขึ้น ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น การเกิดวิกฤตทางธรรมชาติ หรือการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ผู้ผลิตสินค้าต้องแบกรับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทำให้ต้องปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นตามไปด้วย  

 


เงินเฟ้อส่งผลกระทบอย่างไรต่อเงินในกระเป๋าของเรา  


ผลกระทบด้านการถือครองเงิน ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อจะส่งผลในรูปแบบทั้งทางตงและทางอ้อม เพราะค่าใชจ่ายต่างๆจะสูงขึ้นเนื่องมาจากสินค้าที่มีราคาแพงขึ้น ทำให้เราต้องมีรายจ่ายและค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่รายได้ที่เป็นตัวเงินยังคงเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นน้อยกว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ยกตัวอย่าง หากเราลองมองย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน เราซื้อข้าวแกงจานละ 15 บาท ปัจจุบันข้าวแกง 1 จานราคาประมาณ 35-45 บาท จะเห็นว่าราคาข้าวแกงที่เรากินกันมีราคาเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าเลยทีเดียว ถึงแม้ว่ากรอบตัวเลขเงินเฟ้อประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 1-3% แต่ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นกว่านั้นขึ้นไปอีก นั่นแปลว่าเราก็ต้องใช้เงินมากขึ้นเพื่อซื้อซื้อข้าวแกง 1 จาน หรือเราต้องใช้เงินมากขึ้นเพื่อซื้อของใช้ที่ปริมาณเท่าเดิม และหากมูลค่าเงินต่ำลงมากๆ เงินที่หามาได้ก็อาจไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ  ในการยังชีพ  


ผลกระทบด้านเงินออมและการลงทุน ยิ่งอัตราเงินเฟ้อสูงก็จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยหรืออัตราผลตอบแทนที่แท้จริงที่จะได้รับ มีมูลค่าลดลงไป ยกตัวอย่างเช่น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารร้อยละ 1.25% หากอัตราเงินเฟ้อ 1% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะอยู่ที่ 0.25% และหากอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิม แต่เงินเฟ้ออยู่ที่ 2% เท่ากับว่าอัตราดอกเบี้ยแท้จริงจากการเงินฝากธนาคารนั้นจะมีมูค่าติดลบ (-0.75% ผู้ถือสินทรัพยที่เป็นตัวเงินแน่นอน อย่างเงินสด เงินฝากประจำ พันธบัตร จะเสียเปรียบเพราะมูลค่าลดลง ส่งผลให้เกิการตัดสินใจเลือกลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่มากกว่าแทนการฝากเงินกับธนาคาร


จะรับมืออย่างไรในสถานการ์ภาวะเงินเฟ้อ  


แม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตราการช่วยเหลือต่างๆ ทั้งนโยบายการเงินและการคลังเพื่อรับมือกับปัญหาภาวะเงินเฟ้อ เช่น การควบคุมราคาสินค้า มาตรทางด้านภาษี หรือการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้คนในประเทศออมเงินมากกว่าการใช้เงิน แต่อย่างไรก็ดีเราเองควรมีวีธีป้องกันหรือแนวทางการปรับตัวด้วยเช่นกันเพื่อลดแรงกระแทกที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ  

การวางแผนประหยัดค่าใช้จ่ายจึงเป็นทางออกทที่ดีและง่ายที่สุด ด้วยวางแผนค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับรายรับ ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้รู้ว่าเรามีค่าใช้จ่ายจำเป็นอะไรบ้างและค่าใช้จ่ายใดบ้างที่ไม่จำเป็น รวมถึงตั้งงบประมาณและควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ให้เกินงบประมาณที่ตั้งไว้ หรือวางแผนการซื้อล่วงหน้า เช่น ลดการกินข้าวนอกบ้านหันมาทำกับข้าวหรือปลูกผักกินเอง ลดรายจ่ายค่าเสือผ้าเครื่องนุ่งห่มหรือเครื่องประดับ เป็นต้น 

หากอัตราดอกเบี้เงินฝากอยู่ในระดับที่ต่ำ ก็ควรหาสินทรัพย์ลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น เช่น การลงทุนในตลาดทุน สินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ  หรือกองทุนรวม แต่ควรลงทุนอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ เพื่อป้องกันการขาดทุนและต้องไม่ลืมที่จะสำรองเงินเก็บไว้สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ในระดับที่เหมาะสม 

 


จริงแล้วการเกิดภาวะเงินเฟ้อนั้นเป็นกลไกลทางการตลาดและภาวะของสภาพคล่องทางเศรษฐกิจเป็นหลัก การขึ้นราคาสินค้าและบริการอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แม้ว่าการเพิ่มหรือการปรับขึ้นของราคาสินค้าอาจเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหลกเลี่ยงได้ แต่เราสามารถบริหารจัดการใช้จ่ายให้เหมาะสมและวางแผนการใช้เงินให้ดี ก็จะช่วยป้องกันผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อได้หรือด้รับผลกระทบน้อยที่สุด ดังนั้น เรื่องการวางแผนการทางเงินจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปที่เราควรให้ความสำคัญ