บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
สรุปผลการจัดซื้อ-จัดจ้าง
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

วางแผนภาษีอย่างไร เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น





           



มนุษย์เงินเดือนทุกคนมีหน้าที่ต้องยื่น “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” ทุกปี ซึ่งจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีจะขึ้นอยู่กับรายได้ของตัวเอง ยิ่งมีรายได้มากเท่าไรก็ต้องจ่ายภาษีมากขึ้นตามไปด้วย หากอยากเสียภาษีน้อยลงแบบถูกต้องตามกฎหมาย ก็สามารถทำได้ด้วยการวางแผนภาษี ซึ่งถ้าวางแผนดีก็จะทำให้ประหยัดภาษีและมีเงินเหลือเก็บเพิ่มมากขึ้นได้ แล้วจะเริ่มต้นอย่างไรดี วันนี้ขอชวนสมาชิกมาวางแผนภาษีกับ 4 เทคนิควางแผนภาษีเงินได้ แบบง่าย ๆ เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น ไปด้วยกัน 


เทคนิคที่ 1 ลองคำนวณภาษีที่ต้องจ่าย โดยต้องประมาณตัวเลขคร่าว ๆ ดูก่อนว่าในปีนี้เรามีรายได้ หรือที่เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” เท่าไร เป็นเงินได้ประเภทไหนบ้าง เช่น เงินเดือน ค่านายหน้า เบี้ยประชุม ดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ เนื่องจากเงินได้แต่ละประเภทสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน สำหรับมนุษย์เงินเดือนทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 คือ เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส และประเภทที่ 2 เช่น ค่านายหน้า เบี้ยประชุม เมื่อรวมรายได้ทั้งหมด จะหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท นอกจากนี้ยังหักค่าลดหย่อนส่วนตัวได้อีกคนละ 60,000 บาท จะเหลือเป็น “เงินได้สุทธิ” หากไม่มีตัวช่วยประหยัดภาษีอื่น ๆ จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราขั้นบันได ดังนี้ 

 

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

รายได้สุทธิต่อปี 

ฐานภาษีเงินได้ฯ 

ไม่เกิน 150,000 บาท 

ยกเว้นภาษี 

150,001-300,000 บาท 

5% 

300,001-500,000 บาท 

10% 

500,001-750,000 บาท 

15% 

750,001-1,000,000 บาท 

20% 

1,000,001-2,000,000 บาท 

25% 

2,000,001-5,000,000 บาท 

30% 

5,000,001 บาทขึ้นไป 

35% 

 

เทคนิคที่ 2 ตัวช่วยในการประหยัดภาษี การหาตัวช่วยในการลดหย่อนเป็นวิธีหนึ่งที่นิยมที่สุด เพราะง่ายและสะดวก และจะเป็นตัวช่วยให้รายได้สุทธิของเราลดลงโดยการใช้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น เงินออมเพิ่ม กบข. ลงทุนกองทุน SSF กองทุน RMF เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย หรือสิทธิลดหย่อนภาษีตามมาตราของรัฐ เป็นต้น 


เทคนิคที่ 3 เลือกให้ดีจะยื่นรวมหรือยื่นแยก การเสียภาษีเงินได้จะใช้ฐานภาษีใน “อัตราก้าวหน้า” ยิ่งเงินได้มาก อัตราภาษีจะสูงตามไปด้วย ดังนั้น หากใครมีคู่สมรส ควรพิจารณาดังนี้  

1. แยกยื่นภาษี : คู่สมรสที่มีฐานภาษีเดียวกันควรใช้วิธีต่างคนต่างยื่นภาษี เพราะการรวมยื่นภาษีจะทำให้รายได้สุทธิเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้เสียภาษีเพิ่มไปอีกขั้น  

2. ยื่นรวมภาษี : เหมาะกับคู่สมรสที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีฐานภาษีต่ำ แต่มีค่าลดหย่อนสูงกว่ารายได้ของตัวเอง ดังนั้น เมื่อนำรายได้ทั้ง 2 คนมารวมกันจะใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้เต็มที่  

3. แยกยื่นภาษีเฉพาะเงินเดือน : หากคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเงินได้ประเภทเงินเดือนสูงมาก และมีเงินได้ประเภทอื่น ๆ เช่น เงินปันผลหุ้น กองทุนรวม ค่าเช่า ค่าลิขสิทธิ์ ร่วมด้วย ฝ่ายที่มีเงินเดือนสูงควรแยกยื่นภาษีเฉพาะเงินได้ประเภทเงินเดือนของตัวเอง ส่วนเงินได้ประเภทอื่น ๆ ให้นำไปยื่นรวมกับคู่สมรสที่มีรายได้ไม่สูงมาก เพื่อให้ฐานภาษีของตัวเองลดลง 


เทคนิคที่ 4 เลือกรวมหรือไม่รวมเสียภาษีปลายปี รายได้จากการออมและลงทุนที่เมื่อเรารับมาจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว คือ เงินได้จากดอกเบี้ย และเงินปันผล ทั้งสองอย่างนี้ เมื่อผู้จ่ายหักภาษีไว้แล้ว เราสามารถเลือกที่จะนำไปรวมหรือไม่รวมเป็นรายได้ในการยื่นภาษีสรรพากรได้ แต่จะเลือกยื่นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับฐานภาษีของเรา กรณีที่เราเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ ถ้าเรานำรายได้นั้นมารวมคำนวณจะทำให้เสียภาษีน้อยลง แต่ในกรณีที่ฐานภาษีสูงกว่าอัตราภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ก็ไม่ควรนำมารวม เพราะจะทำให้เราเสียภาษีมากขึ้น 


ดังนั้น สมาชิก กบข. มีทางเลือกในการวางแผนภาษีระยะยาวที่ดี โดยสามารถพิจารณาการออมเพิ่มกับ กบข. ได้ตั้งแต่ 1% ไปจนถึงสูงสุดถึง 27% ของอัตราเงินเดือน หากสมาชิกท่านใดมีความประสงค์จะออมเพิ่ม สามารถแจ้งความประสงค์ได้ง่าย ๆ ผ่าน 3 ช่องทางออนไลน์ของ กบข. คือ My GPF Application หรือ My GPF Website และ LINE กบข. @gpfcommunity หรือจะเลือกกรอกแบบแจ้งความประสงค์ออมเพิ่มส่งที่หน่วยงานต้นสังกัดโดยตรงก็ได้เช่นกัน 


สุดท้ายนี้ ทุกคนสามารถวางแผนภาษีได้ง่ายๆ ด้วยการศึกษาเงินได้ของตัวเองและค่าลดหย่อนที่ใช้ลดหย่อน ยิ่งระยะยาวก็ยิ่งทำให้เราประหยัดเงินที่จะต้องนำไปเสียภาษี การใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของการวางแผนภาษีจะทำให้เราประหยัดภาษีได้อย่างมาก และอย่าละเลยที่จะกลับมาไตร่ตรองให้ดีก่อนว่าจะทำอย่างไรให้ประหยัดภาษีได้มากที่สุด