บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

กฎเหล็กควบคุมรายจ่ายให้อยู่หมัด




            


ใครๆ ก็อยากมี ความมั่งคั่ง แต่ในบางครั้งก็มีกิจกรรมและความจำเป็นในชีวิตที่ต้องใช้เงินหรือนำเงินเก็บมาใช้ก่อนเวลา ด้วยข้อจำกัดรายได้ของคนส่วนใหญ่เติบโตไม่ทันกับสารพัดค่าใช้จ่าย และค่าใช้จ่ายทั้งค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน ราคาอาหาร สินค้าและบริการเกือบทุกสิ่งทุกอย่างราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่ออย่างเนื่อง ในขณะที่รายได้มีอยู่อย่างจำกัดจนเงินแทบไม่พอใช้หรือไม่สามารถเริ่มเก็บเงินออมในแต่ละเดือนได้ นับว่าเป็นปัญหาหลัที่หลายคนต้องพบเจอ หนึ่งในวิธีแก้ที่ดีที่สุดคือการใช้จ่ายอย่างประหยัด และคงจะดีกว่าหากเราสามารถลดค่าใช้จ่ารายเดือนลงได้ บทความนี้จึงได้รวบรวมเอากฎเหล็กในการควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่หมัดมาแนะนำพื่อให้ใช้เปนแนวทางในการบริหารจัดการเรื่องเงินๆ ทองๆ แถมยังทำให้มีเงินเหลือเพิ่มต่อเดือนจนมีเงินเหลือเก็บได้เลย  

 

กฎเหล็กควบคุมค่าใช้จ่ายสำหรับคนอยากออม 

  • จดทุกอย่างที่จ่ายไป เริ่มจากการจดรายการที่จ่ายไปในแต่ละเดือน โดยแยกรายจ่ายออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นรายจ่ายประจำ (จำเป็น) เช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ และส่วนที่เป็นรายจ่ายไม่ประจำ เช่น ค่าอาหาร ค่ากาแฟ ค่าสังสรรค์ ค่าสมาชิกรายเดือนต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้เห็นตัวลขว่าในแต่ละเดือนจ่ายไปเท่าไหร่ และดูว่ามีรายจ่ายในส่วนไหนสามารถลดลงได้บ้าง หรือตัดทิ้งได้โดยที่ไม่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน   

  • กำหนดค่าใช้จ่ายต่อวัน การกำหนดค่าใช้จ่ายเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยคุมค่าใช้จ่ายได้ง่ายๆ เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบลงรายละเอียดรายจ่ายต่างๆ เมื่อมีรายได้เข้ามาหลังจากที่หักรายจ่ายประจำ (จำเป็น)ออกไปแล้ว เหลือเงินทั้งหมดเท่าไหร่ก็นำมาเฉลี่ยว่าทั้งเดือนจะใช้เงินได้วันละกี่บาท จำกัดจำนวนเงินสำหรับใช้จ่ายในแต่ละวันแล้วก็ใช้แค่เท่านั้นพอ แต่ไม่ต้องถึงขนาดทำให้ตนเองต้องลำบากจนเกินไป 

  • แบ่งเงินออม ทันทีที่เงินเดือนเข้าแบ่งเงินเก็บเข้าบัญชีเงินออมไว้ก่อนเลย อาจใช้วิธีการตั้งหักบัญชีอัตโนมัติทุกต้นเดือนก็เป็นตัวช่วยเรื่องวินัยอย่างหนึ่งด้วย สามารถกำหนดระยะเวลา เช่น 12 เดือน 24 เดือน 36 เดือน โดยออมอย่างน้อย 10% ของรายได้หรือออมตามกำลังที่เราออมไหว เหลือเงินเท่าไหร่ค่อยนำไปใช้จ่ายอื่นๆ วิธีนี้จะช่วยให้มีเงินเก็บแน่นอน 

 

กฎเหล็กควบคุมค่าใช้จ่ายสำหรับคนเป็นหนี้ 

  • ทำบัญชีรายรับ–รายจ่ายเพื่อหาช่องโหว่ทางการเงิน การทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นกฎเหล็กยืนหนึ่งในเรื่องการหาช่องโหว่ทางการเงิน เพราะในบางครั้งเราไม่อาจรู้เลยว่าเงินที่ใช้ไปทั้งหมดนั้นเป็นค่าอะไรบ้าง ซึ่งการจดรายละเอียดทุกครั้งที่ได้เงินมาหรือจ่ายเงินไปในแต่ละวันจะทำให้เรารู้ว่าเราจ่ายเงินไปกับค่าอะไรบ้าง เมื่อนำมาบวกลบคูณหารกันแล้วก็จะทำให้เห็นตัวเลขชัดเจนขึ้นว่ามีรายรับ รายจ่ายและเงินคงเหลือเท่าไร เห็นสภาพคล่องทางการเงินของเราเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการใช้จ่ายไม่พอในอนาคตหรือไม่ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการควบคุมและประมาณการค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้เป็นอย่าดี 

  • ปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองและหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ต้องใช้เงิน การเปลี่ยนแปลงความเคยชินของแต่ละคนอาจทำได้ไม่ง่ายนัก แต่เชื่อเถอะว่าการควบคุมรายจ่ายต่างๆ ให้ได้นั้น ต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและนิสัยการใช้จ่ายของตนเองก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อเรารู้แล้วว่าเงินที่จ่ายไปส่วนใหญ่หมดไปกับค่าอะไรบ้าง รายจ่ายอะไรที่ไม่จำเป็นที่จ่ายเป็นประจำ หรือรายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อความบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นการชอปปิ้งเดินตลาดหรือเดินห้างสรรพสินค้า การเลี้ยงสังสรรค์หลังเลิกงาน แม้แต่การดื่มเครื่องดื่มราคาแพงในท้องตลาด หากงดหรือลดรายจ่ายส่วนนี้ลงบ้าง ก็จะทำให้เรามีเงินเหลือติดกระเป๋ามากขึ้น และสามารถนำเงินส่วนนี้มาใช้โป๊ะหนี้บางส่วนได้  

  • หาวิธีกำจัดหนี้เก่า ก่อนที่จะไปหาวิธีกำจัดหนี้ แนะนำให้ทำตารางแจกแจงหนี้ก่ออันดับแรกเป็นเพราะจะทำให้เราเห็นจำนวนหนี้ทั้งหมดและรายละเอียดต่าง ๆ ของหนี้ชัดเจน ถัดมาก็จัดอันดับหนี้ที่ต้องชำระและเลือกวิธีการจัดการหนี้ที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่น ชำระหนี้ก้อนเล็กหรือชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงก่อน คนมีบ้านอาจเลือกใช้วิธีการขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม (Retention) หรือการรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่น (Refinance) แต่สำหรับคนที่มีหนี้แล้วจ่ายหนี้ไม่ไหวจริงๆ การเลือกเข้าไปคุยกับธนาคารเจ้าหนี้ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อขอประนอมหนี้ เพื่อให้เรามีสภาพคล่องทางการเงินและตั้งหลักได้ง่ายขึ้น 

  • หยุดสร้างหนี้เพิ่ม การกู้หนี้ใหม่เพื่อเอาเงินมาจ่ายหนี้ก้อนเก่า อาจช่วยปิดหนี้ก้อนเก่าและปลดภาระไปได้ แต่หนี้ก้อนที่กู้ใหม่ไม่สามารถปิดหนี้ก้อนเก่าได้ สิ่งหนึ่งที่จะตามมาก็คือรายจ่ายเรื่องดอกเบี้ย จนเป็นภาระซ้ำซ้อนกลายเป็นหนี้เพิ่มหมุนเวียนต่อไปไม่รู้จักจบ 

 

กฎเหล็กควบคุมค่าใช้จ่ายสำหรับคนที่มีเป้าหมายการเงิน 

  • ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าในอนาคตข้างหน้าคุณจะทำอะไร ต้องการอะไร และต้องการใช้เงินเท่าไหร่  เช่น ต้องการซื้อบ้านจำนวน 2 ล้านบาทในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยจะจ่ายเงินดาวน์บ้าน หลังจากนั้นก็ทำให้ได้ตามเป้าหมาย และเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ควรนำเป้าหมายนั้นมาวางแผน และมุ่งมั่นทำตามแผน อย่าย่อท้อหรือหมดกำลังใจจนล้มเลิกกลางครันเด็ดขาด  

  • ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น สำรวจดูว่ามีกิจกรรมใดที่ฟุ่มเฟือยและไม่มีความจำเป็นต้องใช้ เปลี่ยนรายจ่ายเหล่านี้ให้เป็นเงินเก็บ ด้วยการงดหรือดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลงบ้าง เช่น ปรับลดค่าแพจเก็จโทรศัพท์ และ wi-fi ให้เท่ากับการใช้งานจริง ยกเลิกค่าฟิตเนสหรือค่าสมาชิกรายเดือนของแอพพลิเคชั่นต่างๆบนโทรศัพท์มือถือที่ไม่ได้ใช้บริการ งดหรือลดการบริโภคเครื่องดื่มในแต่ละวัน ลดจำนวนครั้งในการกินข้าวนอกบ้านให้น้อยลง เป็นต้น     

  • รู้จักลงทุน การนำเงินออมไปลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงย เป็นตัวช่วยในการย่นระยะเวลาของการบรรลุเป้าหมายให้เร็วขึ้น  


สุดท้ายนี้อยากจะฝากไว้ว่า สิ่งเล็กๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตได้ ลองปรับวินัยการใช้จ่ายเงินของตัวเองให้อยู่ในกรอบที่ตั้งไว้ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เหลือเงินสดในมือเพิ่มขึ้นจนมีเงินเหลือเก็บเป็นกอบเป็นกำได้เลย แน่นอนว่ากฎเหล็กที่รวบรวมมาทั้งหมดนี้ไม่ใช่กฎตายตัวที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แต่สำหรับใครที่ต้องการควบคุมรายจ่ายหรืออยากปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรื่องเงินๆ ทองๆ ของตนเอง สามารนำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปประบใช้เป็นแนวทางและทดลองทำตามกันได้ตามความเหมาะสมของตัวเอง การันตีว่าทำได้จริง ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิดเลย