นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
การลงทุนอย่างรับผิดชอบ
การดำเนินการต่อต้านการทุจริต
มาตรการภายในเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต
รายงานผลการประเมิน ITA
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
สรุปผลการจัดซื้อ-จัดจ้าง
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพการลงทุนอย่างรับผิดชอบ

มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการทุจริต

ด้วย กบข. มีเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติหน้าที่และบริหารองค์กรอย่างซื่อสัตย์สุจริตและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล รวมถึงได้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันมิให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้นในกิจการของกองทุน โดยมีประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง นโยบายต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2556 ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อแสดงให้ปรากฎถึงความโปร่งใส (Transparency) และภาระความรับผิดชอบ (Accountibility) ในการบริหารกองทุน สร้างความเชื่อมั่นต่อสมาชิกและสังคมโดยรวม และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว สำนักงานโดยเลขาธิการ กบข. ได้ออกประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวนโยบายในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงานของกองทุนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด นอกจากนี้ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการกับเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบไว้ในประกาศนี้ด้วยแล้ว

ช่องทางการร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการทุจริต (Whistleblowing)

คณะกรรมการ กบข. กำหนดให้ประธานอนุกรรมการตรวจสอบเป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทำผิดกฎหมาย การทุจริต การทำผิดจรรยาบรรณ รายงานทางการเงินอันเป็นเท็จหรือระบบการควบคุมภายในที่ไม่รัดกุมเพียงพอ ผู้มีส่วนได้เสียสามารถส่งเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการกระทำดังกล่าวตามช่องทางที่กำหนดไว้ด้านล่าง โดยข้อมูลของผู้ร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสและเรื่องที่แจ้งจะถูกเก็บรักษาเป็นความลับเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของบุคคล

ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสให้ระบุประเด็นการร้องเรียนหรือเรื่องที่แจ้งเบาะแสให้ชัดเจน พร้อมทั้งให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถส่งเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

  1. ส่งเป็น e-mail ถึงประธานอนุกรรมการตรวจสอบ ผ่านผู้อำนวยการและผู้บริหารฝ่ายตรวจสอบภายในได้ที่: whistleblower@gpf.or.th
  2. ส่งผ่านเว็บไซต์ กบข. ตาม link ช่องทางติดต่อ “ร้องเรียน/แจ้งเบาะแสการทุจริต”
  3. ส่งเป็นหนังสือถึงประธานอนุกรรมการตรวจสอบ ตามที่อยู่ ดังนี้
    • ประธานอนุกรรมการตรวจสอบ
    • ผ่านผู้อำนวยการและผู้บริหารฝ่ายตรวจสอบภายใน
    • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เลขที่ 990 อาคารอับดุลราฮิม ชั้น 6
    • ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

เมื่อได้รับเรื่องร้องเรียนหรือการแจ้งเบาะแสการทุจริต ให้ฝ่ายตรวจสอบภายในแจ้งการรับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวไปยังประธานอนุกรรมการตรวจสอบภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับทราบ โดยประธานอนุกรรมการตรวจสอบจะแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสต่อคณะอนุกรรมการตรวจสอบ และสั่งการให้ฝ่ายตรวจสอบภายในตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานผลให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบพิจารณาโดยเร็ว

กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสทุจริต

สถิติเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการทุจริต

รายงาน

แสดงข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ

ประจำปี 2566 (มกราคม - มีนาคม)

จำนวนเรื่องข้อมูลความก้าวหน้า/การจัดการเรื่องร้องเรียน
1ดำเนินการแล้วเสร็จ

 
ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายตรวจสอบภายใน

การตรวจสอบการทุจริต

ผู้ตรวจสอบภายในจำเป็นต้องมีความรู้เพียงพอที่จะประเมินความเสี่ยงของการทุจริต และให้แนวทางในการบริหารจัดการทุจริตของหน่วยงานของรัฐ แต่ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญเทียบเท่ากับผู้มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการสืบสวนหรือสอบสวนการทุจริตโดยตรง ฝ่ายตรวจสอบภายในจึงมีกรอบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบการทุจริต โดยกำหนดไว้ในคู่มือปฏิบัติงานตรวจสอบทุจริต (Fraud Audit Manual) ระบุถึงหลักการและวิธีการปฏิบัติงาน ซึ่งอ้างอิงจากแนวทางการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตภาครัฐของกรมบัญชีกลาง พ.ศ. 2556 และมาตรการการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบของ กบข. ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐกำหนด