ครม.อนุมัติ 4
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ บรรเทาผลกระทบจากโควิด-19
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ 4 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19
ดังนี้
1. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 โดยจ่ายเงินช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน
1,200 บาท/คน โดยแบ่งจ่ายเดือนละ 200 บาท/คน เป็นระยะเวลา 6 เดือน (ก.ค.-ธ.ค.64)
มีผู้ได้ประโยชน์จากโครงการนี้ 13,350,159 คน
2. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ผู้ไม่สามารถเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ต ผู้ไม่มีสมาร์ทโฟน
ผู้มีภาวะพึ่งพิง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จำนวนไม่เกิน 2,500,000 คน
โดยจ่ายผ่านบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด เดือนละ 200 บาท/คน ระยะเวลา 6 เดือน
(ก.ค.-ธ.ค.64) รวมได้รับเงินช่วยเหลือ 1,200 บาท
3. โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายแก่ประชาชน
31 ล้านคน โดยแบ่งเป็น
-
ผู้ที่เคยร่วมโครงการในระยะที่ 1-2 15 ล้านคน
-
เปิดให้ผู้ไม่เคยได้รับสิทธิ์ลงทะเบียนอีก 16 ล้านคน
-
ทั้งนี้ต้องเป็นผู้อายุเกิน 18 ปี และไม่เป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
หรือเข้าร่วมโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้
การใช้สิทธิ์เป็นลักษณะร่วมจ่าย คือ ซื้อของเท่าไหร่ จ่ายจริงครึ่งเดียว
และอีกครึ่งรัฐสนับสนุน โดยยอดเงินที่สนับสนุนไม่เกิน 150 บาท/คน/วัน
หรือใช้จ่ายผ่านโครงการนี้ได้ไม่เกินวันละ 300 บาท
การสนับสนุนจะเติมเงินผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” แบ่งเป็น
2 รอบ รอบละ 3 เดือน (ก.ค.-ก.ย.64) และ (ต.ค.-ธ.ค. 64) ซึ่งจะได้รับสิทธิรอบละ 1,500 บาท รวมได้รับสิทธิ 3,000 บาท ระยะเวลาดำเนินการรับสิทธิได้ตั้งแต่มิถุนายน-ธันวาคม 2564 หรือจนกว่าสิทธิจะเต็ม
โดยสามารถเริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่กรกฎาคม-ธันวาคม
2564 คาดว่าจะทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 186,000 ล้านบาท ส่งผลให้ GDP ขยายตัวร้อยละ 0.55
4. โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ สนับสนุนวงเงินในรูปแบบบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์
(e-Voucher) เมื่อซื้อสินค้าและบริการ
ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าทั่วไป ไม่รวมสลากกินแบ่ง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ยาสูบ รวมทั้งบริการนวด/สปา/ทำผมทำเล็บ และบริการอื่นตามที่กำหนด
โดยจำกัดวงเงินใช้จ่าย ไม่เกิน 5,000 บาท/คน/วัน หรือรวมแล้วไม่เกิน
60,000 บาท/คน และจะได้รับสิทธิ e-Voucher
สะสมสูงสุดไม่เกิน 7,000
บาทต่อคนเพื่อนำไปใช้ต่อ
ซึ่งในรายละเอียดนั้นทางกระทรวงการคลังจะชี้แจงเพิ่มเติมต่อไป
สำหรับกลุ่มเป้าหมายจะเป็นประชาชนไม่เกิน
4 ล้านคน โดยมีคุณสมบัติคือ เป็นประชาชนสัญชาติไทยมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์
มีบัตรประจำตัวประชาชน และไม่เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ไม่ได้รับสิทธิโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
หรือไม่ใช้สิทธิโครงการ “คนละครึ่ง” ระยะที่ 3
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศผ่านผู้มีกำลังซื้อและสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยกระทรวงการคลังคาดว่าจะทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 268,000 ล้านบาท ช่วย GDP ขยายตัวร้อยละ 0.80 ด้วย
อย่างไรก็ตาม 4 มาตรการข้างต้น
นอกจากจะประชาชนที่ได้รับสิทธิ์โดยตรง รวมกว่า 51 ล้านคนแล้ว ยังเป็นประโยชน์กับร้านค้ารายย่อยที่เข้าร่วมรับชำระค่าใช้จ่ายผ่านโครงการเหล่านี้
รวมไปถึงห่วงโซ่เศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น เกษตรกร ชาวประมง เป็นต้น
------------------------------
ครม.อนุมัติโครงการบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข กรอบวงเงิน
10,569.8283 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับ โควิด-19 ให้สถานพยาบาล/หน่วยบริการ
ในการตรวจคัดกรองและรักษาพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ประกอบด้วยค่าใช้จ่าย
ดังนี้
- ค่าบริการป้องกันการติดเชื้อ ค่าบริการตรวจคัดกรอง
ทั้งในรูปแบบ RT-PCR, Pooled RT-PCR, Pooled saliva , Antibody,
Antigen ในการคัดกรองผู้ต้องสงสัยติดเชื้อ
รวมทั้งการตรวจคัดกรองเชิงรุก การตรวจก่อนทำหัตถการ
การตรวจในกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง การตรวจใน Hospitel และการตรวจเพื่อการเฝ้าระวังโรค
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีศักยภาพการตรวจสูงสุดที่ 50,000 รายต่อวัน (6,353.1980 ล้านบาท)
- ค่าบริการรักษาผู้ป่วย
สำหรับคนไทยและผู้ป่วยใน State Quarantine รวมทั้งปรับเพิ่มสัดส่วนการเข้ารับการรักษาใน
Hospitel และสัดส่วนการรับส่งต่อ (ค่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วย) โรงพยาบาลกับ
Hospitel และระหว่างบ้าน
ด่านตรวจคนเข้าเมือง และสนามบินมาโรงพยาบาล (3,417.30 ล้านบาท)
- ค่าบริการฉีดวัคซีน กระทรวงสาธารณสุขขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมเป็น
40 บาทต่อครั้ง จากเดิม 20 บาทต่อครั้ง
เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการวัคซีนโควิด-19 ที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่าวัคซีนทั่วไป และต้องใช้บุคลากรมากกว่าการฉีดวัคซีนอื่น
(760 ล้านบาท)
- ค่าบริการรักษาอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีนโควิด-19 จำนวน 30.0133 ล้านบาท และค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่มีหลอดเลือดอุดตันร่วมด้วย
(VITT) จำนวน 9.2800 ล้านบาท
เพื่อรองรับการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ได้รับผลกระทบข้างเคียงจากวัคซีนโควิด-19
โดยอ้างอิงอัตรารักษาตามมาตรฐานในระบบของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ทั้งนี้การใช้จ่ายในการให้บริการตรวจคัดกรองหรือป้องกันไม่ให้เกิดการติดโรค
จะช่วยลดภาระงบประมาณของประเทศในภาพรวมด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยซึ่งมีค่าใช้จ่ายต้นทุนการบริการที่มากกว่า
รวมถึงยังเป็นหลักประกันทางสังคมด้านสุขภาพสำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19
อีกด้วย
------------------------------
เดินหน้าจัดหารถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยและรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ
22 คัน
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการจัดหารถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยแบบ
2 จุดบริการ (Biosafety Mobile Unit) จำนวน 11 คัน และรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ
(Express Analysis Mobile Unit) จำนวน 11 คัน
เพื่อดำเนินการค้นหาผู้ติดเชื้อในระดับพื้นที่ และเป็นห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ในการตรวจวิเคราะห์ผลโรคโควิด-19
รวมจำนวน 22 คัน (วงเงิน 129 ล้านบาท)
จากเดิมมีการใช้งานรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ จำนวน 5 คัน
ควบคู่กับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย จำนวน 21 คัน
ในการค้นหาเชิงรุกแบบเบ็ดเสร็จในสถานที่จริง โดยส่วนหนึ่งเป็นรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยและรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษพระราชทาน
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด-19
ในปัจจุบันกระจายไปหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในชุมชนแออัด ตลาด แคมป์คนงาน
รวมถึงคลัสเตอร์ใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การคัดแยกผู้ป่วยออกจากชุมชนได้เร็วที่สุดจะยิ่งทำให้ลดโอกาสการแพร่เชื้อได้มากที่สุด
------------------------------
ครม.อนุมัติค่าตอบแทน
“อสม.” เพิ่ม 3 เดือน
คณะรัฐมนตรี อนุมัติโครงการค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย
และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
อีก 3 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม–กันยายน 2564 วงเงินรวมไม่เกิน 1,575.4950 ล้านบาท เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีแก่ อสม.
ผู้ปฏิบัติงานในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ในชุมชน
ซึ่งที่ผ่านมา อสม.
ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมอย่างถ้วนหน้ามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม
2563–มิถุนายน 2564 เป็นระยะเวลา 16 เดือน กรอบวงเงินรวม 8,348.6965 ล้านบาท
ทั้งนี้
ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติในอนาคตและกระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นต้องจ่ายค่าตอบแทนเพิ่มเติมก็สามารถขอรับเงินค่าตอบแทนเพิ่มเติมให้แก่
อสม. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน อสม. ได้ต่อไป
เว็บไซต์ของ กบข. มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น โดยจะทำให้ กบข. เข้าใจลักษณะการใช้งานเว็บไซต์ของ กบข. ของท่าน และทำให้เว็บไซต์ของ กบข. เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์ของ กบข. นี้จะถือว่าท่านได้อนุญาตให้ กบข. ใช้คุกกี้ตาม นโยบายการใช้คุกกี้