มาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการ
ศึกษาแก่ประชาชน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชน
ระดับชั้นอนุบาล-ม.6 อาชีวศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) และระดับมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชน
ดังนี้
1. ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาวงเงิน 23,000 ล้านบาท
สำหรับนักเรียนในระบบการศึกษาไทย ภาคเรียนที่ 1/64 ดังนี้
-
สนับสนุนค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง 2,000 บาท/นักเรียน 1 คน
-
จัดสรรค่าใช้จ่ายให้แก่สถานศึกษาเพื่อช่วยจัดการเรียนรู้
-
ขอความร่วมมือให้กลุ่มโรงเรียนเอกชนที่ไม่รับการอุดหนุนจากรัฐและกลุ่มโรงเรียนนานาชาติ
ลดหรือตรึงค่าใช้จ่ายในโรงเรียนเอกชนให้เท่ากับปีการศึกษา 2563
2. ลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาให้นิสิต - นักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน วงเงิน 10,000 ล้านบาท
ในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2564 โดยมหาวิทยาลัยของรัฐจะได้รับส่วนลดเป็นลักษณะร่วมจ่ายระหว่างรัฐและมหาวิทยาลัยในอัตรา
6:4 ในส่วนของค่าเล่าเรียน และค่าธรรมเนียมการศึกษา ดังนี้
- ส่วนที่มีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 50,000 บาท ลด
50%
- ส่วนที่มีค่าใช้จ่าย 50,001-100,000 บาท ลด 30%
- ส่วนที่มีค่าใช้จ่ายเกิน 100,000 บาท ลด
10%
โดยส่วนลดสูงสุดรวมกันไม่เกิน 50%
ขณะที่มหาวิทยาลัยของเอกชน ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา รัฐสนับสนุนในอัตรา
5,000 บาท/คน
------------------------------
โครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข กรอบวงเงิน 13,026.12 ล้านบาท ให้ สปสช. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับหน่วยบริการ
สถานพยาบาลที่ให้บริการสาธารณสุขโรคโควิด-19 สำหรับประชาชนทุกสิทธิ
ระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน 2564 จำนวน 3,508,060 คน ประกอบด้วย
1. กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจคัดกรองไวรัสโควิด-19 จำนวน 3,392,800 คน
2. ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับบริการสาธารณสุข จำนวน 114,500 คน
3. ผู้ได้รับความเสียหายจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวน 760 คน
ทั้งนี้ โครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของ
สปสช. จะเป็นการช่วยลดงบประมาณด้านการรักษาพยาบาลในภาพรวม
เนื่องจากเป็นโครงการลงทุนให้เกิดการบริการตรวจคัดกรอง
หรือป้องกันไม่ให้เกิดการติดโรค
ซึ่งมีต้นทุนค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาเมื่อป่วยแล้ว ทั้งยังเป็นหลักประกันทางสังคมด้านสุขภาพสำหรับประชาชนไทยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
สปสช.
จะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อภายใต้สวัสดิการต่างๆ
ของภาครัฐ รวมทั้งร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พัฒนาแนวทางการจัดบริการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน เพื่อสนับสนุนให้แต่ละภาคส่วนสามารถจัดบริการป้องกันการติดเชื้อเชิงรุกในชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพต่อไป
------------------------------
อนุมัติเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดู เด็กแรกเกิดเพิ่มเติม
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบกลาง เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
จำนวน 3,493.19 ล้านบาท เป็นเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ระหว่างเดือน
ก.ค.-ก.ย. 2564 จำนวน 2,227,029 คน
ในปีงบประมาณ 2564
รัฐได้ให้เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี
เพื่อให้ได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพและมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
เติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพในอนาคต โดยให้เงินอุดหนุนเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน
เดือนละ 600 บาท แก่ครอบครัวที่มีรายได้น้อยตั้งแต่เดือน ต.ค. 2563 ถึง มิ.ย.2564
แล้ว จำนวน 1,966,093 คน
แต่ในเดือน ก.ค.-ก.ย. 2564 ผู้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดสูงถึง
2,227,029 คน ครม. จึงอนุมัติงบกลางเพื่อจ่ายเงินอุดหนุนอย่างต่อเนื่อง
เว็บไซต์ของ กบข. มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น โดยจะทำให้ กบข. เข้าใจลักษณะการใช้งานเว็บไซต์ของ กบข. ของท่าน และทำให้เว็บไซต์ของ กบข. เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์ของ กบข. นี้จะถือว่าท่านได้อนุญาตให้ กบข. ใช้คุกกี้ตาม นโยบายการใช้คุกกี้