หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพลงทุน
นโยบายการลงทุน

นโยบายการลงทุนของ กบข. คือการบริหารเงินของกองทุนโดยมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในเรื่องของความสมดุลระหว่าง "ความปลอดภัยของเงินต้น (Preservation of Capital)" กับ "ผลตอบแทนจากการลงทุน" ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อให้สมาชิกมีมาตรฐานและ คุณภาพของการดำรงชีวิตที่เหมาะสมภายหลังการเกษียณ "หลักการลงทุน กบข." นั้นจะอยู่ภายใต้กฎหมายแห่ง

  • กรอบของพระราชบัญญัติ กบข.
  • กฎกระทรวง

อีกทั้ง กบข. ยังได้มีการจัดทำ


เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการลงทุนของกองทุนอีกด้วย ซึ่งส่งผลให้ กบข. มีกระบวนการในการตัดสินใจลงทุนที่มีความรอบคอบ มีการวิเคราะห์ ความเสี่ยงต่างๆ ควบคู่ไปกับการพิจารณาถึงผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุ้มค่าเหมาะสม และมีกระบวนการติดตามประเมินสถานการณ์การลงทุน ของตลาดการลงทุนอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกอย่างแท้จริง สมดั่ง "ปรัชญาการลงทุน" ของ กบข. ที่ว่า


  • เสริมสร้างผลประโยชน์ของสมาชิก
  • เสริมสร้างผลประโยชน์ของประเทศโดยรวม
  • เป็นกิจการที่มีการบริหารการจัดการที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม






กระบวนการตัดสินใจการลงทุนของ กบข. ที่พัฒนาขึ้นมานั้น มีกรอบการตัดสินใจลงทุนที่ประกอบด้วย

  • คณะกรรมการ
    มีหน้าที่วางนโยบายการลงทุน กํากับดูแลและควบคุมการลงทุนให้เป็นไปตามกฎหมายนโยบาย และเป้าหมาย ที่กําหนดโดยการจัดทําแผนจัดสรรการลงทุนระยะยาว (SAA) กรอบความเสี่ยง และผลตอบแทนเป้าหมาย

  • คณะอนุกรรมการจัดการลงทุน
    มีหน้าที่กลั่นกรองข้อเสนอของสํานักงานก่อนที่เสนอสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ

  • คณะจัดการกลยุทธ์การลงทุน
    ซึ่งเป็นการจัดการในระดับสำนักงาน มีเลขาธิการและผู้บริหารระดับสูงร่วมกันเป็นคณะจัดการกลยุทธ์การลงทุน มีหน้าที่กำหนดกลยุทธ์ การลงทุน กรอบและเงื่อนไขที่จะต้องดำเนินการภายใต้กรอบที่คณะกรรมการกำหนด

  • เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ หรือผู้จัดการกองทุน
    มีหน้าที่ดําเนินการด้านการลงทุนให้ได้เงื่อนไขที่ดีที่สุดสําหรับสมาชิกภายใต้กรอบการลงทุนและนโยบายที่กําหนด





  • กระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน
  • ทบทวนและประเมินผลการจัดสรรเงินลงทุน ทุกระยะ 3 ปี หรือเมื่อมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงสำคัญ
  • กำหนดเป้าหมายและผลการดำเนินงาน ตัวเทียบวัด และแนวทางลงทุนให้ชัดเจนควบคู่ไปกับการกำกับดูแลและการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
  • จัดจ้างบริษัทจัดการกองทุนที่ชำนาญการบริหารการลงทุนสำหรับสินทรัพย์ต่างๆ ตามประเภทของความเชี่ยวชาญ
  • กระจายเงินกองทุนระหว่างผู้จัดการกองทุนภายในสำนักงาน และผู้จัดการกองทุนภายนอกให้สอดคล้องกับนโยบายของคณะกรรมการ
  • กำหนดกระบวนการจัดการลงทุนที่ชัดเจน โปร่งใส แบ่งความรับผิดชอบของฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องในลักษณะถ่วงดุลกันและกัน และมีระบบกำกับตรวจสอบการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฏหมายและข้อกำหนดการลงทุนอย่างเคร่งครัด