นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
การลงทุนอย่างรับผิดชอบ
การดำเนินการต่อต้านการทุจริต
มาตรการภายในเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต
รายงานผลการประเมิน ITA
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
สรุปผลการจัดซื้อ-จัดจ้าง
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพการลงทุนอย่างรับผิดชอบ

ESG Focused Portfolio

เกณฑ์ประเมินมาตรฐาน ESG ของ กบข.

เกณฑ์ประเมินมาตรฐาน ESG ของ กบข. (GPF-ESG Standard Criteria)
ก. หลักการและเหตุผล

ในฐานะนักลงทุนสถาบัน (Institutional Investor) บริหารเงินออมสำหรับข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. และเงินสำรองภาครัฐ รวมกันกว่า 800,000 ล้านบาท กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ตระหนักดีว่า ภารกิจของ กบข. มิใช่มีเพียงสร้างผลตอบแทนการลงทุนสำหรับสมาชิกและรัฐ หากแต่ยังต้องรวมถึงการเป็นนักลงทุนที่ร่วมสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้การกำกับดูแลที่ดีในฐานะนักลงทุนที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Investor) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็น Leader in ESG Investment & Initiatives in Thailand ตามที่ กบข. เคยประกาศเจตนารมณ์ไว้

กบข. จัดสรรเงินกองทุนส่วนหนึ่งจัดตั้งกองทุนที่ใช้ ESG Index เป็นตัวเทียบวัด โดยใช้ชื่อว่า ESG-Focused Portfolio ที่ใช้ดัชนี Thailand Sustainability Index (THSI) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นตัวเทียบวัดกลุ่มกิจการที่สามารถลงทุนได้จะต้องเป็นบริษัทที่มีรายชื่ออยู่ในดัชนี SET 100 และดัชนี THSI ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน ESG ของ กบข. (ESG Standard Criteria) เนื่องจากเห็นว่าเป็นกิจการที่ดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ (Responsible Business Owner: RBO) โดยมีการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับเกณฑ์สำคัญ 4 เกณฑ์ ดังนี้

ก. หลักการและเหตุผล
ข. เกณฑ์ประเมินมาตรฐาน ESG ของ กบข. (GPF-ESG Standard Criteria)
เกณฑ์ที่ 1: เกณฑ์เจตนารมณ์พื้นฐาน (ESG Intention)
  1. กำหนดและเปิดเผยเจตนารมณ์ที่จะเป็นผู้ดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบมุ่งมั่นส่งเสริมและร่วมสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจ (Economic) สังคม (Social) และสิ่งแวดล้อม (Environment) ภายใต้การกำกับดูแลที่ดี (Good Governance)
  2. ควรมีมาตรการเชิงรุก (Proactive Strategy) เพื่อสนับสนุนให้กิจการสามารถดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และป้องกันการเกิดปัญหาอันจะเป็นอุปสรรคต่อการเป็นผู้ดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ
  3. กำหนดมาตรการรองรับ (Reactive Strategy) กรณีเกิดเหตุการณ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการเป็นผู้ดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ มาตรการดังกล่าวอาจประกอบด้วย การแจ้งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ได้ทราบข้อมูลที่เหมาะสมเพียงพอ ทันเหตุการณ์ การแก้ปัญหาทันทีโดยไม่รอช้า การบรรเทาความเสียหายและเยียวยาผู้เสียหายที่เหมาะสม รวมทั้งมีกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดมาตรการเชิงรุกป้องกันการเกิดเหตุซ้ำ (Preventive Strategy) เป็นต้น
  4. ได้รับการประเมินผลการดำเนินการด้าน ESG ในระดับดีจากผู้ประเมินภายนอกที่น่าเชื่อถือ อาทิ การได้รับการประเมินให้เป็นหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น

เกณฑ์ที่ 2: เกณฑ์การประกอบธุรกิจ (Business Criteria)
  1. ดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียสำคัญ อาทิ พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า และประชาชนทั่วไป อย่างเท่าเทียมโดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างทางด้าน เชื้อชาติ ศาสนา สถานะทางเพศ สถานะทางสังคม และสภาพร่างกาย
  2. ไม่ดำเนินธุรกิจที่สร้างผลกระทบเชิงลบอย่างชัดเจนต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม อาทิ การค้าอาวุธ การพนัน การค้าบริการทางเพศ การผลิตหรือเกี่ยวข้องกับธุรกิจลามกอนาจาร การทำร้ายร่างกายหรือทารุณมนุษย์ การทารุณสัตว์ เป็นต้น รวมทั้งการมีรายได้หลักจากเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือยาสูบ
  3. กำหนดมาตรการและแนวทางดำเนินธุรกิจโดยมีการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ อีกทั้งมีมาตรการที่เหมาะสมหากพบว่ามีกรณีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้น
  4. ปฏิบัติต่อนักลงทุนและผู้ถือหุ้นอย่างเสมอภาคเป็นธรรม และไม่เอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย
  5. ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีการประเมินความเสี่ยง กำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจ มีนวัตกรรมหรือกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม

เกณฑ์ที่ 3: เกณฑ์ความโปร่งใส (Transparency Criteria)
  1. เปิดเผยข้อมูลการประกอบธุรกิจที่สอดคล้องกับการเป็นผู้ดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ รวมถึงผลประกอบการสภาวะอุตสาหกรรม และแนวโน้มการดำเนินธุรกิจในอนาคต ทั้งที่เป็นการสาธารณะและต่อนักลงทุน ผู้ถือหุ้นอย่างพอเพียงในระยะเวลาที่เหมาะสม
  2. เปิดโอกาสให้นักลงทุน ผู้ถือหุ้นผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสียมีช่องทางเข้าถึงข้อมูลและเข้าถึงผู้เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงความคิดเห็นสอบถามข้อสงสัยได้ตามความเหมาะสม

เกณฑ์ที่ 4: เกณฑ์การกำกับดูแลที่ดี (Good Governance)
  1. มีโครงสร้าง ขนาด และองค์ประกอบคณะกรรมการที่เหมาะสม คณะกรรมการประกอบไปด้วยผู้มีความรู้ความสามารถที่เพียงพอต่อการกำกับดูแลกิจการให้ดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับการเป็นผู้ดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ
  2. มีจำนวนคณะกรรมการอิสระที่เหมาะสม สอดคล้องกับหลักการมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของสมาคมส่งเสริม สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) หรือสถาบันอื่นที่เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ
  3. คณะกรรมการดำเนินการให้มีการแก้ไขอย่างทันท่วงทีและเหมาะสมหากมีกรณีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้น
  4. เข้าร่วมกับองค์กรเครือข่ายที่ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจโดยปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน เช่น การแสดงเจตนารมณ์เข้าร่วมโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption: CAC) เป็นต้น
  5. กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจจัดการต้องไม่เป็นผู้ที่หน่วยงานภาครัฐสอบสวนแล้วพบว่ามีการกระทำผิดกฎหมาย เกี่ยวข้องกับการทุจริต ยักยอกทรัพย์ รับสินบน หรืออื่นใดอันก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่กิจการ

ข. เกณฑ์ประเมินมาตรฐาน ESG ของ กบข. (GPF-ESG Standard Criteria)
ค. การจัดกลุ่มหลักทรัพย์เพื่อลงทุน
กบข. นำผลการพิจารณาตามเกณฑ์ประเมินมาตรฐาน ESG ของ กบข. (GPF-ESG Standard Criteria) ดังกล่าวมาใช้จัดกลุ่มหลักทรัพย์ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

Tier 1: Positive List
หมายถึงหลักทรัพย์ของกิจการที่มีการดำเนินการตามเกณฑ์ประเมินมาตรฐาน ESG ของ กบข. อย่างครบถ้วนหรือทำได้ดีกว่าที่เกณฑ์กำหนด และมีแนวโน้มในอนาคตสำหรับการดำเนินการสอดคล้องหรือดีกว่าเกณฑ์ประเมินมาตรฐาน ESG ของ กบข. หลักทรัพย์ของกิจการใดที่อยู่ในกลุ่มนี้มีแนวโน้มสูงที่ กบข. จะคัดเลือกเข้าอยู่ใน ESG-Focused Portfolio

Tier 2
หมายถึงหลักทรัพย์ของกิจการที่ กบข. ประเมินแล้วพบว่าผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐาน ESG ของ กบข. ในสาระสำคัญ อาจมีบางเงื่อนไขที่ไม่สอดคล้องแต่ไม่เป็นสาระสำคัญ มีแนวโน้มที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงการดำเนินการที่สนับสนุนการเป็นผู้ดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง หลักทรัพย์ของกิจการใดที่อยู่ในกลุ่มนี้มีแนวโน้มต่ำ-ปานกลางที่ กบข. จะคัดเลือกเข้าอยู่ใน ESG-Focused Portfolio

Tier 3: Negative List
หมายถึงกิจการที่ กบข. ประเมินแล้วพบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐาน ESG ของ กบข. ในสาระสำคัญและกิจการมีแนวโน้มที่จะดำเนินธุรกิจและประกอบกิจการเช่นที่เคยเป็นมาโดยไม่มีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อแก้ปัญหา หรือป้องกันการเกิดปัญหาอันเป็นอุปสรรคต่อการเป็นผู้ดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบหลักทรัพย์ของกิจการใดที่อยู่ในกลุ่มนี้ไม่มีโอกาสที่ กบข. จะคัดเลือกเข้าอยู่ในกองทุน ESG-Focused portfolio


รายชื่อบริษัทที่ผ่านเกณฑ์

รายชื่อหลักทรัพย์ที่ผ่านการประเมินในกลุ่ม Tier 1
ชื่อย่อหลักทรัพย์ บริษัท Company
1 ADVANC บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส Advanced Info Service Plc.
2 AMATA บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน Amata Corporation Plc.
3 AOT บมจ. ท่าอากาศยานไทย Airports of Thailand Plc.
4 BANPU บมจ. บ้านปู Banpu Plc.
5 BBL บมจ. ธนาคารกรุงเทพ Bangkok Bank Plc.
6 BCP บมจ. บางจาก คอร์ปอเรชั่น Bangchak Corporation Plc.
7 BGRIM บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ B.Grimm Power Plc.
8 BPP บมจ. บ้านปู เพาเวอร์ Banpu Power Plc.
9 CENTEL บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา Central Plaza Hotel Plc.
10 CPF บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร Charoen Pokphand Foods Plc.
11 CPN บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา Central Pattana Plc.
12 DELTA บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) Delta Electronics (Thailand) Plc.
13 DTAC บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น Total Access Communication Plc.
14 EGCO บมจ. ผลิตไฟฟ้า Electricity Generating Plc.
15 GFPT บมจ. จีเอฟพีที GFPT Plc.
16 HMPRO บมจ. โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ Home Product Center Plc.
17 INTUCH บมจ. อินทัช โฮลดิ้งส์ Intouch Holdings Plc.
18 IRPC บมจ. ไออาร์พีซี IRPC Plc.
19 IVL บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ส Indorama Ventures Plc.
20 KBANK บมจ. ธนาคารกสิกรไทย Kasikornbank Plc.
21 KKP บมจ. ธนาคารเกียรตินาคิน Kiatnakin Bank Plc.
22 MINT บมจ. ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล Minor International Plc.
23 PSH บมจ. พฤกษา โฮลดิ้ง Pruksa Holding Plc.
24 PTG บมจ. พีทีจี เอ็นเนอยี PTG Energy Plc.
25 PTT บมจ. ปตท. PTT Plc.
26 PTTEP บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม PTT Exploration and Production Plc.
27 PTTGC บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล PTT Global Chemical Plc.
28 RATCH บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง Ratchaburi Electricity Generating Holding Plc.
29 SCB บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์ Siam Commercial Bank Plc.
30 SCC บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย The Siam Cement Plc.
31 SPALI บมจ. ศุภาลัย Supalai Plc.
32 STA บมจ. ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี Sri Trang Agro-Industry Plc.
33 TASCO บมจ. ทิปโก้แอสฟัลท์ Tipco Asphalt Plc.
34 TISCO บมจ. ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป Tisco Financial Group Plc.
35 TMB บมจ. ธนาคารทหารไทย TMB Bank Plc.
36 TOP บมจ. ไทยออยล์ Thai Oil Plc.
37 TVO บมจ. น้ำมันพืชไทย Thai Vegetable Oil Plc.
38 TRUE บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น True Corporation Plc.