นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
การลงทุนอย่างรับผิดชอบ
การดำเนินการต่อต้านการทุจริต
มาตรการภายในเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต
การประเมิน ITA
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพการลงทุนอย่างรับผิดชอบ

มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ

ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่องมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2563 ได้กำหนดมาตรการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ หน่วยงานของกองทุนรับผิดชอบจัดให้มีมาตรการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจภายใต้หลักการของกองทุน

อีกทั้งยังมีมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ ดังนี้

1. โครงสร้างการกำกับดูแล

       คณะกรรมการ กบข. ได้กำหนดโครงสร้างองค์กรของ กบข. ให้มีการทำงานที่มีการตรวจสอบถ่วงดุล (Check and Balance) และนำหลักการ Three lines of defenses ในการบริหารจัดการความเสี่ยง การตัดสินใจและการควบคุมภายในให้ฝังอยู่ในกระบวนการปฏิบัติงานประจำวัน โดยแบ่งส่วนงานเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ส่วนงานที่ 1 First Line มีหน้าที่ปฏิบัติงานหลักขององค์กรซึ่งเป็นเจ้าของความเสี่ยงในกิจกรรมของตน (Risk Owner) ส่วนงานที่ 2 Second Line มีหน้าที่จัดให้มีนโยบาย กฎเกณฑ์ กระบวนการในการบริหารความเสี่ยงและกำกับดูแลการปฏิบัติตามความเสี่ยงและกฎเกณฑ์ ส่วนงานที่ 3 Third Line มีหน้าที่ตรวจสอบติดตามผลการบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ซึ่งได้แก่ ฝ่ายตรวจสอบภายใน และมีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีทุกประเภทของกองทุนทุกปีตามที่ พระราชบัญญัติ กบข. มาตรา 78

2. นโยบาย กฎระเบียบ ขั้นตอนการปฏิบัติงานและอำนาจการดำเนินการกำหนด

       คณะกรรมการ กบข. กำกับดูแลการจัดการของกองทุน ตามอำนาจหน้าที่ที่พระราชบัญญัติ กบข. กำหนดไว้ โดยได้กำหนดนโยบายและกฎระเบียบต่างๆ ในการบริหารกิจการของ กบข. เช่น อำนาจการดำเนินการ ระเบียบการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน หลักเกณฑ์ในการรับ เก็บรักษาและจ่ายเงิน การบริหารงานบุคคล ตลอดจนการกำหนดเงินเดือนและเงินอื่น รวมถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการ เป็นต้น และสำนักงานได้กำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการปฏิบัติงานเพิ่มเติม เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของคณะกรรมการ กบข. และใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนลดการใช้ดุลพินิจ เช่น หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายแต่ละประเภท การกำหนดอำนาจดำเนินการ ผู้มีอำนาจในแต่ละกรณีและวงเงินที่มีอำนาจ ขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการสมาชิก สิทธิและสวัสดิการของพนักงาน หลักเกณฑ์การประเมินผลงาน เป็นต้น

3. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการปฏิบัติงาน

กบข. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ทั้งการให้งานบริการสมาชิก งานบริหารจัดการลงทุน การบริหารความเสี่ยงลงทุน งานสนับสนุน เช่น งานบัญชีและการเงิน งานบริหารทรัพยากรบุคคล งานจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น ซึ่งช่วยลดการใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจ ทำให้มีการป้องกันและควบคุมดูแลอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ กบข. มีแผนงานยุทธศาสตร์องค์กรในการพัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งปี 2562 มีแผนงานต่อเนื่องจากปี 2561 ที่ให้ความสำคัญกับการให้บริการสมาชิกผ่าน Mobile แบบ End-to-End Service on Mobile Platform มีระบบการตอบข้อมูลสมาชิกแบบอัตโนมัติ (Chat Bot) การใช้ Data Analytics เพื่อการวิเคราะห์และการให้บริการสมาชิก และการเสริมสร้างให้เป็นองค์กรดิจิทัล (Digital Organization)

4. การตรวจสอบภายใน

คณะกรรมการ กบข. กำหนดโครงสร้างของการตรวจสอบให้มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน โดยให้ฝ่ายตรวจสอบภายในรายงานผลการตรวจสอบตรงต่อคณะอนุกรรมการตรวจสอบ และกำหนด กฎบัตรคณะอนุกรรมการตรวจสอบ ให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายในให้ปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานสากลวิชาชีพการตรวจสอบภายใน และตาม กฎบัตรของฝ่ายตรวจสอบภายใน โดยคณะอนุกรรมการตรวจสอบเป็นผู้อนุมัติ แผนงานตรวจสอบประจำปีของฝ่ายตรวจสอบภายใน ซึ่งเป็นแผนงานที่จัดทำขึ้นโดยสอดคล้องกับภารกิจ แผนยุทธศาสตร์องค์กร และความเสี่ยงขององค์กร โดยครอบคลุมกิจกรรมและระบบงานที่สำคัญของ กบข. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบในประเด็นที่สำคัญรวมถึงแผนการปรับปรุงแก้ไขและความคืบหน้าการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญให้ฝ่ายตรวจสอบภายในมีความอิสระในการปฏิบัติงาน โดยสามารถตรวจสอบได้ครอบคลุมกิจกรรมที่สำคัญ มีกระบวนการตรวจสอบ ดังนี้

กระบวนการตรวจสอบภายใน กบข.