กบข. ได้กำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงและการควบคุมภายในทั้งองค์กรเป็นประจำทุกปี โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยการประเมินความเสี่ยงในทุกกระบวนการปฏิบัติงานของทุกฝ่ายงาน จะครอบคลุมไปถึงการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
อีกทั้ง กบข. ได้จัดทำแม่บทการบริหารความเสี่ยงของ กบข. ขึ้นเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการบริหารความเสี่ยง และประเมินความเสี่ยง ซึ่งกระบวนการบริหารความเสี่ยงกำหนดให้ฝ่ายงานเจ้าของความเสี่ยงทำการประเมินและกำหนดการควบคุมภายในกระบวนการปฏิบัติงานของตนเอง โดยฝ่ายบริหารความเสี่ยงองค์กรเป็นฝ่ายอำนวยการ ประสานงานให้มีการประเมินความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ตลอดจนทบทวน และปรับปรุงการควบคุมภายในให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และฝ่ายตรวจสอบภายในทำหน้าที่สอบทานการประเมินความเสี่ยงและการควบคุมภายใน รวมถึงติดตามประสิทธิผลของการจัดการความเสี่ยง และการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กบข. ได้จัดทำหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค. ๑) รายงานการประเมินองค์ประกอบการควบคุมภายใน (แบบ ปค. ๔) รายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค. ๕) และรายงานการสอบทานการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค.๖) เพื่อนำส่งกระทรวงการคลังเป็นประจำทุกปี โดยมีขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ดังนี้
นอกจากนี้ กบข. ได้นำหลักการ Three Lines of Defense มาใช้ในการประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริต โดยมีฝ่ายงานเจ้าของความเสี่ยง (Risk Owner) เป็นผู้ประเมินความเสี่ยงและกำหนดการควบคุมภายใน ฝ่ายบริหารความเสี่ยงองค์กร ฝ่ายกำกับกิจกรรมองค์กร และฝ่ายตรวจสอบภายในสอบทานผลการประเมินตนเองของทุกฝ่ายงาน ซึ่ง กบข. ได้รายงานผลการประเมินความเสี่ยงและแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงให้แก่คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะอนุกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการ กบข. และกระทรวงการคลังตามกำหนดการภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
กบข. ได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยมีประกาศกองทุนฯ เรื่องมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2563 กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดยปราศจากการทุจริตและประพฤติมิชอบและไม่ยอมรับการทุจริตทุกรูปแบบ (Zero Tolerance) รวมทั้งคำนึงถึงการป้องกันมิให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้นในกิจการของกองทุนฯ กำหนดให้มีมาตรการให้ผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงานของกองทุนฯ ประเมินความเสี่ยงด้านการกระทำทุจริตและประพฤติมิชอบในกระบวนการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ และวางมาตรการป้องกันความเสี่ยงอย่างชัดเจน รวมถึงจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสำคัญที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบให้ผู้ปฏิบัติงาน และบุคคลภายนอกรับทราบผ่านเว็บไซต์ของกองทุนฯ นอกจากนี้ยังระบุมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบใน Term of Reference (TOR) ของระบบจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้คู่ค้ารับทราบนโยบายต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบของ กบข. และกำหนดช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน หรือเบาะแสการทุจริต ซึ่งแสดงถึงความโปร่งใสในการดำเนินงานที่ยึดแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทั้งด้านการลงทุน งานบริการสมาชิก และการบริหารสำนักงานเพื่อเสริมสร้างการเป็นองค์กรแห่งธรรมาภิบาลที่เข้มแข็ง
นอกจากนี้ การประเมินความเสี่ยงด้านการกระทำทุจริตและประพฤติมิชอบในกระบวนการปฏิบัติงานของแต่ละฝ่ายงานนั้น เพื่อให้เจ้าของความเสี่ยง (Risk Owner) ได้พิจารณาความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ กบข. ได้กำหนดประเภทเหตุการณ์ความเสี่ยงด้านการทุจริตและประพฤติมิชอบขององค์กรไว้ 7 ประเภท ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงจากการทุจริตโดยบุคคลภายใน และบุคคลภายนอก และจัดทำทะเบียนการประเมินความเสี่ยงด้านทุจริต (Fraud) ขึ้น โดยอ้างอิงเหตุการณ์ความเสี่ยงจากแนวปฏิบัติ ธปท. เรื่องการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ การรวบรวมประเด็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของ กบข. (Environmental Scan) บทความจาก World Economic Forum: TOP 10 Risk Event Survey และข้อมูลตัวชี้วัดความเสี่ยง (KRIs) ที่มีการติดตามและรายงานสถานะความเสี่ยงเป็นประจำทุกเดือน มาใช้ประกอบการประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง และผลกระทบอันเกิดจากความเสี่ยง เพื่อลดการใช้ความเห็นส่วนบุคคลในการประเมินระดับความเสี่ยง
โดยจากการประเมินความเสี่ยง พบว่า ความเสี่ยงทุจริตอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากมีการควบคุมภายในอย่างเพียงพอทั้งการป้องกัน (Prevention) การเฝ้าระวัง (Detection) และการแจ้งเบาะแส (Investigation) รวมถึงการนำหลักการกำกับดูแลตามแนวปฏิบัติสากล Three Lines of Defense มาใช้เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ภายใต้การบริหารจัดการความเสี่ยงในทุกระดับอย่างเหมาะสม
กบข. ได้ประเมินความเสี่ยงด้านการกระทำทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี 2564 ทุกกิจกรรมที่สำคัญของ กบข. ซึ่งมีผลการประเมินความเสี่ยงทุจริตอยู่ในระดับต่ำ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้พนักงานมีความตระหนักถึงความเสี่ยงของการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเพื่อการพัฒนาและยกระดับในด้านคุณธรรมและความโปร่งใสตามเกณฑ์การประเมินของสำนักงาน ป.ป.ช. และสอดรับกับแผนงานยุทธศาสตร์ชาติ ดังนั้น ในปี 2565 กบข. จึงได้กำหนดแผนร่วมโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) และแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยมีรายละเอียดของแผนงาน ดังนี้
กบข. มีการกำกับและติดตามการดำเนินงานตามแผนงานป้องกันความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และจัดทำรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานเสนอต่อผู้บริหารสูงสุดของกลุ่มงานบริหารความเสี่ยงเป็นประจำทุกไตรมาส และกรณีที่เกิดประเด็นความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญจะรวบรวมข้อมูลและจัดทำรายงานการจัดการประเด็นความเสี่ยงดังกล่าวเสนอต่อเลขาธิการในทันที โดยในปี 2565 สรุปผลการดำเนินการ ดังนี้
เว็บไซต์ของ กบข. มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น โดยจะทำให้ กบข. เข้าใจลักษณะการใช้งานเว็บไซต์ของ กบข. ของท่าน และทำให้เว็บไซต์ของ กบข. เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์ของ กบข. นี้จะถือว่าท่านได้อนุญาตให้ กบข. ใช้คุกกี้ตาม นโยบายการใช้คุกกี้