บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก


ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน

ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน


สินเชื่อ หรือการกู้เงินจากสถาบันการเงิน มีประโยชน์ในด้านการเสริมสภาพคล่องหรือมีเงินก้อนเพียงพอในการใช้จ่าย แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ ลืมว่าการกู้เงินหมายถึงการก่อหนี้ ซึ่งผู้กู้จะต้องแบ่งสภาพคล่องของตนเองในอนาคตไปจ่ายชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตามจำนวนและเวลาที่สถาบัน การเงินกำหนด สินเชื่อมีรูปแบบที่หลากหลาย ควรเลือกใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์และมั่นใจว่าจะสามารถจ่ายชำระได้ตรงตามกำหนด

  • อำนวยความสะดวกในการใช้จ่ายทั่วไป - บัตรเครดิต
    บัตรเครดิตสามารถใช้แทนเงินสดในการชำระค่าสินค้าหรือบริการกับร้านค้าที่เปิดรับบัตร เครดิต ข้อดีคือช่วยขยายระยะเวลาชำระเงินจากที่ต้องชำระทันทีเป็นภายในวันครบตามที่ใบแจ้งหนี้ระบุ โดยเมื่อถึงกำหนดผู้ถือบัตรเครดิตชำระ ค่าสินค้าหรือบริการนั้นเต็มจำนวน หากชำระคืนเพียงบางส่วนหรือชำระล่าช้า จะส่งผลให้สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่มีการใช้บัตรจนถึง วันที่ชำระยอดคงค้าง ปัจจุบัน นอกจากนี้ ผู้ถือบัตรเครดิตยังสามารถเบิกถอนเงินสดจากบัตรเครดิตได้ โดยเสียค่าธรรมเนียม 3% ของยอดเงิน ที่เบิกถอน และดอกเบี้ยในอัตรา 18% ต่อปี ซึ่งควรใช้ในสถานการณ์จำเป็นเท่านั้น

  • ต้องการใช้เงินฉุกเฉิน - บัตรกดเงินสด
    บัตรกดเงินสดเป็นสินเชื่อในรูปแบบวงเงินพร้อมใช้ กล่าวคือการอนุมัติบัตรกดเงินสดจะยังไม่ถือว่าเป็น การกู้เงิน จนกว่าจะใช้บัตรถอนเงินสดออกมา โดยสถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยในอัตรา 20% - 28% ต่อปี บัตรกดเงินสดมักกำหนดยอดผ่อน ชำระต่อเดือนไม่สูงนัก เพียง 5% ของยอดเงินที่ถอนออกมา ทำให้ผู้กู้อาจใช้ระยะเวลาผ่อนชำระนาน ดังนั้น ควรมีวินัยในการเร่งผ่อนชำระให้หมด โดยเร็วเพื่อเป็นการลดภาระดอกเบี้ยจ่ายโดยรวม

  • ต้องการเงินกู้ระยะยาว ไม่ใช้หลักประกัน – สินเชื่อส่วนบุคคล
    สินเชื่อส่วนบุคคลเป็นสินเชื่อระยะยาว กำหนดผ่อนชำระนาน เช่น 60 เดือน จึงมี ประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการเงินก้อนใหญ่และเฉลี่ยยอดผ่อนชำระต่อเดือนให้ไม่กระทบสภาพคล่องในการดำเนินชีวิตประจำวัน สินเชื่อส่วนบุคคล แตกต่างจากบัตรกดเงินสดในเรื่องวันที่เริ่มคำนวณดอกเบี้ย โดยหลังจากที่สถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อแล้ว จะทำการโอนเงินเข้าบัญชีและเริ่มคิด ดอกเบี้ยในอัตรา อัตรา 20% - 28% ต่อปี (ขณะที่การอนุมัติบัตรกดเงินสดจะยังไม่ถูกคิดดอกเบี้ยจนกว่าจะเริ่มเบิกถอนเงิน)

  • ต้องการซื้อบ้าน – สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
    สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้กู้นำเงินไปซื้อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม หรือที่ดินเปล่าที่เตรียมการปลูกสร้างบ้านไว้ โดยต้องจำนองอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นหลักประกัน สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย มีระยะเวลาการผ่อนชำระนานประมาณ 10 ถึง 30 ปี (ขึ้นอยู่กับอายุของผู้กู้) โดยทั่วไปสถาบันการเงินกำหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง MRR (อัตรา ดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี) และอาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ในระดับต่ำในช่วง 1 ถึง 3 ปีแรกเพื่อเป็นการจูงใจและแบ่งเบาภาระ ของผู้กู้

  • ต้องการซื้อรถ – สินเชื่อรถยนต์
    สินเชื่อเพื่อซื้อรถยนต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้กู้นำเงินไปซื้อยานพาหนะ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ โดยจำนำ ยานพาหนะนั้นเป็นหลักประกัน การกู้เงินจะคำนวณโดยวิธีที่เรียกว่าดอกเบี้ยคงที่ กล่าวคือนำอัตราดอกเบี้ยคูณกับเงินต้นและระยะเวลาในการกู้ แล้วเฉลี่ยกลับมารวมเป็นยอดเงินที่ต้องชำระต่อเดือน ดังนั้น หากผู้กู้เลือกระยะเวลาผ่อนชำระนานก็จะส่งผลให้ดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา

  • ต้องการเงินก้อน โดยใช้บ้านหรือรถยนต์ค้ำประกัน – สินเชื่ออเนกประสงค์
    สินเชื่ออเนกประสงค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำบ้านหรือยานพาหนะที่ ปลอดการจำนอง/จำนำ เป็นหลักประกันกู้เงิน ข้อดีคือการได้รับเงินก้อนโดยที่ผู้กู้ยังคงใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์นั้นได้ตามเดิม แต่วงเงินและ ดอกเบี้ยที่ได้รับอาจไม่สูงนัก เนื่องจากสถาบันการเงินจะพิจารณามูลค่าตลาดของสินทรัพย์เป็นหลัก ควบคู่ไปกับความสามารถในการชำระหนี้ ของผู้กู้


สมาชิกที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ
ผลิตภัณฑ์เงินฝาก เช่น
  • อัตราผลทตอบแทนเงินฝากที่น่าสนใจ
  • เงื่อนไขการเปิดบัญชีออมทรัพย์แบบพิเศษ
  • เงื่อนไขบัญชีฝากประจำปลอดภาษี