บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
สรุปผลการจัดซื้อ-จัดจ้าง
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก


ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน




การทำประกันชีวิตและประกันภัย เป็นเครื่องมือช่วยบรรเทาผลกระทบทางการเงินหรือภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้เอาประกันภัย หรือครอบครัว โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินชดเชยให้เมื่อเกิดเหตุตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์ การทำประกันมีหลากหลายรูปแบบ จึงควรเลือกให้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

  • คุ้มครองชีวิตควบคู่กับการสะสมเงิน – ประกันแบบสะสมทรัพย์
    เป็นรูปแบบที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย มีลักษณะเด่นคือการให้จ่ายเงินชดเชยให้ทั้ง กรณีที่ผู้เอาประกันประสบเหตุเสียชีวิต หรือเมื่อสิ้นสุดสัญญาโดยผู้เอาประกันไม่ประสบเหตุ ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการได้รับความคุ้มครอง และการสะสมเงินระยะยาวควบคู่กันไป โดยประกันแบบสะสมทรัพย์นี้มักมีเบี้ยประกันสูงกว่าแบบประกันอื่นเมื่อเทียบกับการได้รับทุนประกันใน จำนวนเท่ากัน

  • สร้างมรดกให้ทายาท – ประกันแบบตลอดชีพ
    มีลักษณะเด่นคือให้ทุนประกันสูงเมื่อเทียบกับประกันแบบสะสมทรัพย์ กำหนดระยะเวลาคุ้มครอง นานจนถึงผู้เอาประกันมีอายุ 80 ถึง 99 ปี (แล้วแต่แบบประกัน) ซึ่งหากผู้เอาประกันเสียชีวิตภายในระยะเวลาคุ้มครองหรือสิ้นสุดสัญญาก็จะได้รับ เงินคืนจากกรมธรรม์นี้ โดยทั่วไปมักใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มทุนประกันควบคู่ไปกับแบบสะสมทรัพย์ หรือใช้เพื่อเป็นเงินมรดกให้ทายาท

  • เพิ่มทุนประกันในช่วงเวลาหนึ่ง – ประกันแบบชั่วระยะเวลา
    ให้ทุนประกันสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประกันแบบอื่นที่มีระยะเวลาคุ้มครองเท่ากัน เบี้ย ประกันที่จ่ายไปตลอดระยะเวลาของสัญญาจะนำไปใช้เพื่อเป็นทุนประกันเท่านั้น ไม่มีการจ่ายเงินคืนเมื่อสิ้นสุดสัญญาและไม่มีเงินปันผลคืนระหว่าง ระยะเวลาของสัญญา เหมาะกับผู้ที่ต้องการเพิ่มทุนประกันให้สูงขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

  • ได้รับเงินเป็นงวดหลังเกษียณ – ประกันแบบบำนาญ
    มีจุดเด่นคือการเริ่มจ่ายคืนผลประโยชน์ซึ่งเรียกว่า “เงินบำนาญ” ให้ เมื่อผู้เอาประกันมีอายุ ตั้งแต่ 55 ปี 60 ปี หรือ 65 ปีเป็นต้นไป และทยอยจ่ายเป็นงวดเท่ากันทุกปีไปจนถึงอายุ 85 ปี หรือ 90 ปี หรือตามเงื่อนไขที่กรมธรรม์กำหนด การ จ่ายคืนลักษณะนี้ทำให้ผู้เอาประกันนำมาออกแบบชีวิตการเงินหลังเกษียณของตนเองได้ง่าย ด้วยการกำหนดจำนวนเงินที่ต้องการจะได้รับจาก ประกันบำนาญเมื่อเริ่มเข้าวัยเกษียณ และคำนวณกลับมาเป็นเบี้ยประกันที่สอดคล้องกับความสามารถในการจ่ายชำระ

  • ได้รับค่ารักษาพยาบาลและความคุ้มครองชีวิตเนื่องจากเหตุบาดเจ็บ – ประกันอุบัติเหตุ
    ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากประสบ อุบัติเหตุหรือบาดเจ็บทางร่างกาย และเป็นผลให้ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ไมว่าจะเป็นเพียงเหตุเล็กน้อยหรือเหตุรุนแรงถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต โดยบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น รวมทั้งค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกัน

  • ได้รับค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากเหตุเจ็บป่วย – ประกันสุขภาพ
    ให้การคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลอันเนื่องจากอาการเจ็บป่วย ทั้งกรณีที่แพทย์ วินิจฉัยให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) รักษาตัวโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล (ผู้ป่วยนอก) หรือตรวจพบ/รักษาตัวด้วยโรคร้ายแรง ที่มี ค่าใช้จ่ายสูง อาทิ กลุ่มโรคมะเร็งและเนื้องอก กลุ่มโรคหัวใจ กลุ่มโรคเกี่ยวกับสมอง เป็นต้น โดยบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น รวมทั้งค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกัน

  • อุ่นใจในยามเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ – ประกันภัยการเดินทางต่างประเทศ
    ให้ความคุ้มครองตลอดการเดินทาง ทั้งเหตุเสียชีวิต ชดเชยค่า รักษาพยาบาลกรณีประสบอุบัติเหตุ/เจ็บป่วย รวมทั้งชดเชยกรณีเกิดเหตุอื่นๆ เช่น กระเป๋าเดินทางสูญหายหรือเสียหายจากการกระทำของสาย การบิน เที่ยวบินล่าช้า การยกเลิกเที่ยวบิน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้สนใจควรเปรียบเทียบรายละเอียดความคุ้มครอง เหตุการณ์หรือประเทศที่ไม่อยู่ในเงื่อน ไขความคุ้มครองประกอบการตัดสินใจ

นอกจากจะได้ความคุ้มครองหรือผลประโยชน์จากการทำประกันชีวิตแล้ว ภาครัฐให้การสนับสนุนการทำประกันด้วยการให้ผู้เอาประกัน นำยอดเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีตามอัตราที่กำหนด เช่น ประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปสามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปีภาษี ส่วนประกันบำนาญสามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 2 แสนบาท และเมื่อนำมารวมกับมาตรการส่งเสริมการออมเพื่อวัยเกษียณต่างๆ อาทิ ค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินสะสม กบข. เป็นต้นแล้ว ต้องไม่เกิน 5 แสนบาทต่อปีภาษี


สมาชิกที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ
ประกันชีวิตและประกันภัย เช่น
  • รูปแบบประกันชีวิตที่เหมาะสมกับตนเอง
  • ผลประโยชน์ของประกันบำนาญที่จะได้รับยามเกษียณ
  • การทำประกันอุบัติเหตุ โรคร้ายแรง หรือประกันเดินทาง