นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
การลงทุนอย่างรับผิดชอบ
การดำเนินการต่อต้านการทุจริต
มาตรการภายในเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต
การประเมิน ITA
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพการลงทุนอย่างรับผิดชอบ

มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการทุจริต

แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ

ด้วย กบข. มีเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติหน้าที่และบริหารองค์กรด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี และตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันมิให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้นภายในองค์กร โดยมีประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง นโยบายต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2556 ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อแสดงให้ปรากฎถึงความโปร่งใส (Transparency) และภาระความรับผิดชอบ (Accountibility) ในการบริหารกองทุน สร้างความเชื่อมั่นต่อสมาชิกและสังคมโดยรวม และมีประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2563 เป็นแนวปฏิบัติในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบให้ผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงานของกองทุนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการกับเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบไว้ในประกาศนี้ด้วยแล้ว

ขั้นตอนและวิธีการในการจัดการเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสทุจริต
ช่องทางการร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการทุจริต (Whistleblowing)

คณะกรรมการ กบข. กำหนดให้ประธานอนุกรรมการตรวจสอบเป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทำผิดกฎหมาย การทุจริต การทำผิดจรรยาบรรณ รายงานทางการเงินอันเป็นเท็จหรือระบบการควบคุมภายในที่ไม่รัดกุมเพียงพอ ผู้มีส่วนได้เสียสามารถส่งเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการกระทำดังกล่าวตามช่องทางที่กำหนดไว้ด้านล่าง โดยข้อมูลของผู้ร้องหรือแจ้งเบาะแสและเรื่องที่แจ้งจะถูกเก็บรักษาเป็นความลับเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของบุคคล

ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสให้ระบุประเด็นการร้องเรียนหรือเรื่องที่แจ้งเบาะแสให้ชัดเจน โดยต้องระบุชื่อ – สกุลของผู้ถูกร้อง ช่วงเวลาการกระทำความผิด พฤติการณ์การทุจริตและประพฤติมิชอบ พร้อมทั้งให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถส่งเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

  1. ส่งเป็น e-mail ถึงประธานอนุกรรมการตรวจสอบ ผ่านผู้อำนวยการและผู้บริหารฝ่ายตรวจสอบภายในได้ที่: whistleblower@gpf.or.th
  2. ส่งผ่านเว็บไซต์ กบข. ตาม link ช่องทางติดต่อ “ร้องเรียน/แจ้งเบาะแสการทุจริต”
  3. ส่งเป็นหนังสือถึงประธานอนุกรรมการตรวจสอบ ตามที่อยู่ ดังนี้
    • ประธานอนุกรรมการตรวจสอบ
    • ผ่านผู้อำนวยการและผู้บริหารฝ่ายตรวจสอบภายใน
    • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เลขที่ 990 อาคารอับดุลราฮิม ชั้น 6
    • ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

เมื่อได้รับเรื่องร้องเรียนหรือการแจ้งเบาะแสการทุจริต ให้ฝ่ายตรวจสอบภายในแจ้งการรับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวไปยังประธานอนุกรรมการตรวจสอบภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับทราบ โดยประธานอนุกรรมการตรวจสอบจะแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสต่อคณะอนุกรรมการตรวจสอบ และสั่งการให้ฝ่ายตรวจสอบภายในตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานผลให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบพิจารณาโดยเร็ว

สถิติเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการทุจริต

รายงาน

แสดงข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ

ประจำปี 2566 ถึงปัจจุบัน (มกราคม 2566 - มีนาคม 2567)

ประจำปีงบประมาณ เดือน ประเภทเรื่องร้องเรียน จำนวน (เรื่อง) อยู่ระหว่างดำเนินการ ดำเนินการแล้วเสร็จ
2566มกราคมเป็นข้อสอบถาม ไม่ถือเป็นเรื่องร้องเรียน*101
กุมภาพันธ์ร้องเรียนการจ่ายเงินคืนสมาชิกไม่ถูกต้อง101
มีนาคมไม่มีเรื่องร้องเรียน000
เมษายนไม่มีเรื่องร้องเรียน000
พฤษภาคมไม่มีเรื่องร้องเรียน000
มิถุนายนเป็นข้อสอบถาม ไม่ถือเป็นเรื่องร้องเรียน*101
กรกฎาคมเป็นข้อสอบถาม ไม่ถือเป็นเรื่องร้องเรียน*101
สิงหาคมไม่มีเรื่องร้องเรียน000
กันยายนเป็นข้อสอบถาม ไม่ถือเป็นเรื่องร้องเรียน*101
ตุลาคมไม่มีเรื่องร้องเรียน000
พฤศจิกายนเป็นข้อสอบถาม ไม่ถือเป็นเรื่องร้องเรียน*303
ธันวาคมไม่มีเรื่องร้องเรียน000
2567มกราคมไม่มีเรื่องร้องเรียน000
กุมภาพันธ์เป็นข้อสอบถาม ไม่ถือเป็นเรื่องร้องเรียน*101
มีนาคมไม่มีเรื่องร้องเรียน000

 *สรุปผลการพิจารณาเรื่องร้องเรียน/แจ้งเบาะแส ปรากฎว่า เป็นข้อสอบถาม ไม่ถือเป็นเรื่องร้องเรียนการทุจริต/แจ้งเบาะแส ซึ่งเป็นรายการที่ได้รับจากช่องทางร้องเรียนการทุจริต/แจ้งเบาะแสบนเว็บไซต์ของ กบข.

 
ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายตรวจสอบภายใน

การตรวจสอบการทุจริต

ผู้ตรวจสอบภายในจำเป็นต้องเป็นผู้มีความรู้เพียงพอที่จะประเมินความเสี่ยงของการทุจริต และให้แนวทางในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทุจริตของฝ่ายงานต่างๆ ภายในองค์กร เพื่อให้การตรวจสอบเกี่ยวกับการทุจริตสามารถทำได้อย่างครอบคลุม ตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐกำหนด โดยฝ่ายตรวจสอบภายในมีกรอบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบการทุจริต ซึ่งกำหนดไว้ในคู่มือปฏิบัติงานตรวจสอบทุจริต (Fraud Audit Manual) โดยอ้างอิงมาจากแนวทางการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตภาครัฐของกรมบัญชีกลาง พ.ศ. 2556