บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
สรุปผลการจัดซื้อ-จัดจ้าง
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

ศูนย์ข้อมูลการเงิน

แผนลงทุน กบข. มีหลากหลายเพื่อเปิดให้สมาชิกได้เลือกตามความสนใจ โดยแต่ละแบบมีระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน สมาชิกควรเลือกให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้


สมาชิกสามารถเลือกการลงทุนจากรูปแบบที่กำหนดไว้ทั้ง 6 แผน ประกอบด้วย

แผนตลาดเงิน

มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ไทยระยะสั้น หรือ ที่เรียกว่าตราสารตลาดเงิน เหมาะกับผู้ที่รับความ เสี่ยงได้ต่ำ ต้องการรักษาเงินต้น

แผนตราสารหนี้

มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือ มากกว่าตราสารประเภทตลาดเงิน ซึ่งจะมีความ เสี่ยงมากกว่าแผนตลาดเงินเล็กน้อยเหมาะกับผู้ ที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ

แผนหลัก

ถือเป็นแผนลงทุนแผนแรกของ กบข. มีนโยบาย ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง ได้แก่ เงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ไม่ต่ำกว่า 60% ของเงินลงทุน ส่วนที่เหลือนำไปลงทุนในตราสารทุน และสินทรัพย์อื่น เพื่อสร้างโอกาสได้รับผลตอบแทนระยะยาว เหมาะกับ ผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง

แผนผสมหุ้นทวี

มีนโยบายลงทุนคล้ายแผนหลัก แต่ะเพิ่มสัดส่วน การลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยง เช่น หุ้น มากกว่าแผนหลักเพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาว เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง

แผนสมดุลตามอายุ

มีนโยบายกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง และสินทรัพย์เสี่ยง โดยปรับสัดส่วนการลงทุนให้สอด คล้องกับอายุของสมาชิก กล่าวคือมีสัดส่วนของสินทรัพย์ เสี่ยงค่อนข้างมากเมื่ออายุน้อย และทยอยลดลงเมื่ออา ยุเพิ่มขึ้น ทำให้สมาชิกไม่ต้องกังวลต่อการปรับสัดส่วน การลงทุนด้วยตนเอง

แผนตราสารทุนไทย

มีนโยบายลงทุนในตราสารทุน (หุ้น) ในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นหลัก โดยใน บางเวลาอาจลงทุนในตราสารหนี้ได้บ้าง เพื่อ บริหารจัดการความเสี่ยงให้เหมาะกับสถานการณ์ เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง

นอกจากนี้ สมาชิกยังสามารถผสมสัดส่วนการลงทุนได้ด้วยตนเอง โดย กบข. เปิดให้เลือกระบุสัดส่วนเงินลงทุนใน 3 แผน ประกอบด้วย แผนตลาดเงิน แผนตราสารหนี้ แผนตราสารทุนไทย การผสมสัดส่วนเองนี้ สมาชิกควรทำแบบประเมินระดับความเสี่ยงที่ ยอมรับได้ เพื่อให้ได้แนวทางเบื้องต้นในการจัดสัดส่วนสินทรัพย์

สมาชิกที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับแผนการลงทุน กบข. เช่น
  • การทำแบบประเมินความเสี่ยงเพื่อเลือกแผนลงทุน
  • ข้อมูลนโยบายลงทุนแต่ละแผน
  • แนวทางการผสมสัดส่วนลงทุนด้วยตัวเอง