บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

ศูนย์ข้อมูลการเงิน

กองทุนรวม เป็นรูปแบบการลงทุนที่รวบรวมเงินจากผู้ลงทุนหลายราย ไปรวมกันเพื่อซื้อตราสารทางการเงินต่างๆ เช่น ตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ (เช่น ทองคำ น้ำมัน) อสังหาริมทรัพย์ หรือตราสารอื่นตามนโยบายที่กองทุนรวมนั้นกำหนดไว้ ข้อดีของกองทุนรวมคือ มีผู้จัดการกองทุนช่วยติดตามสถานการณ์ลงทุนและบริหารจัดการเงินให้ และใช้เงินจำนวนน้อยในการลงทุนได้


กองทุนรวมมีหลากหลายประเภท แบ่งตามลักษณะของสินทรัพย์ที่กองทุนนำเงินไปลงทุน ได้แก่่



  • กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund)
    มีนโยบายการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ระยะสั้นอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี จัดเป็นประเภท กองทุนที่มีความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคาต่ำที่สุด แต่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวน้อยกว่ากองทุนอื่นเช่นกัน เหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการ ความผันผวนจากการลงทุน หรือต้องการพักเงินเพื่อเป็นสภาพคล่องรอการใช้จ่าย เนื่องจากสภาพคล่องสูง (ผู้ขายหน่วยลงทุนจะได้รับเงินในวัน ทำการถัดไป) และโดยทั่วไปมักให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากออมทรัพ

  • กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund)
    มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่างๆ ได้แก่่ ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตร รัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนหุ้นกู้ภาคเอกชน ความเสี่ยงและผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวมักสูงกว่ากองทุนรวมตลาดเงิน เหมาะกับผู้ที่ รับความเสี่ยงได้ต่ำ

  • กองทุนรวมผสม (Balanced Fund)
    มีนโยบายกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงและสินทรัพย์เสี่ยง เพื่อสร้างโอกาสได้รับผลตอบ แทนแต่ก็จำกัดความเสี่ยงไปในขณะเดียวกัน โดยทั่วไปกำหนดให้ลงทุนในตราสารทุนในขณะใดขณะหนึ่ง ไม่น้อยกว่า 35% และไม่เกิน 65% ของ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง

  • กองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund)
    มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุน ไม่ว่าจะเป็นหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ์ในการซื้อขาย หลักทรัพย์ (Warrant) รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นๆ โดยมีสัดส่วนการลงทุนตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต.กำหนด คือโดยเฉลี่ยไม่ น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง

  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund : LTF)
    มีนโยบายการลงทุนในหุ้นสามัญจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้น โดยผู้ลงทุนได้รับการลดหย่อนและยกเว้นภาษีเป็นการจูงใจ (ปัจจุบัน ผู้ลงทุนสามารถซื้อหน่วยลงทุน LTF และได้รับสิทธิทางภาษี จนถึงสิ้นปี 2562)

  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF)
    มีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลายหลาย ตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำ เช่น ตลาดเงิน และตราสารหนี้ ไปถึงความเสี่ยงสูง เช่น หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสะสมเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ คล้ายกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพ และกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ

ผู้ลงทุนควรเลือกให้เหมาะกับวัตถุประสงค์และระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ และที่สำคัญต้องไม่ลืมว่าการลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน จึงมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน และควรศึกษาข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับนโยบายลงทุนก่อนการตัดสินใจลงทุน


สมาชิกที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ
กองทุนรวม เช่น
  • กองทุนเด่นแต่ละประเภท
  • การเริ่มต้นลงทุนในกองทุนรวม
  • การเลือกกองทุนรวมให้เหมาะกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้