บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

Asset Allocation “การจัดสรรการลงทุน”


         


 


เรื่องสำคัญที่ควรรู้ควบคู่การลงทุน คือ “อย่าใส่ใข่ในตระกใบเดียว” วลีเด็ดนี้มักใช้ในการเปรียบเปรยรูปแบบการลงทุนว่า ไม่ควรลงทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งเพียงอย่างเดียว เพราะหากเกิดวิกฤตที่ส่งผลกระทบกับสินทรัพย์ลงทุนนั้นอาจทำให้เงินลงทุนที่สะสมมาลดลงหรือหายไปอย่างรวดเร็ว แล้วเราควรลงทุนอย่างไร วันนี้จะหยิบยกรูปแบบการลงทุนที่เรียกว่า การลงทุนแบบจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน หรือ Asset Allocation ซึ่งเป็นรูปแบบการลงทุนรูปแบบหนึ่งที่สำคัญที่ควรรู้ควบคู่การลงทุน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุได้ 

 

การลงทุนแบบจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน หรือ Asset Allocation คืออะไร  

การลงทุนแบบจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน คือ การที่เรานำเงินไปลงทุนกระจายหลายสินทรัพย์ เช่น ตราสารหนี้ หุ้นรือสินทรัพย์ทางเลือก อาทิ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ น้ำมัน เนื่องจากหากเกิดปัจจัยที่สงผลกระทบกับการลงทุนสินทรัพย์แต่ละประเภทจะได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน ดูจากข้อมูลในอดีตจากภาพเป็นผลตอบแทนย้อนหลังของสินทรัพย์ต่างๆ ย้อนหลัง 12 ปี ตั้งแต่ปี 2010 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2022 จะเห็นได้ว่สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด และน้อยที่สุดในแต่ละปีไม่เหมือนกัน อย่างเช่น ในปี 2019 และ 2020 สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดต่อเนื่องกัน 2 ปี คือ Growth หรือ หุ้นเติบโตสูงของทั่วโลก ผลตอบแทนประมาณ 34% ต่อปี แต่ปี 2021 ผลตอบแทนลดลงเหลือ 21.4% ละเมื่อเดือน ก.พ. ปี 2022 ผลตอบแทน -12.5 จะเห็นได้ว่า ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้การันตีผลตอบแทนในอนาคต และไม่มีสินทรัพย์ใดให้ผลตอบแทนที่ดีตลอด 



Asset Class and Style Returns (ที่มา : JPmorgan)



แต่ก็มีนักลงทุนไม่น้อยที่ลงทุนผิดพลาด เห็นว่าปัจจุบันราคากำลังขึ้นและคาดว่าราคาจะขึ้นต่อจึงตัดสินใจลงทุน แต่เมื่อลงทุนแล้วราคากลับลดลง หรืออยากจะลงทุนแต่รอราคาลดลงกว่านี้ก่อนแล้วค่อยลงทุน แต่ก็ลงทุนไม่ทันเพราะราคาเพิ่มขึ้นแล้ว ดังนั้นการลงทุนรูปแบบนี้นักลงทุนจะต้องติดตามสถานการณ์ลงทุนอย่างใกล้ชิด มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงแต่ก็มีโอกาสผิดพลาดได้สูงเช่นกัน  

ส่วนารลงทุนแบบจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน (Asset Allocation) เป็นรูปแบบการลงทุนรูปแบบหนึ่ง โดยเชื่อว่า “ไม่มีสินทรัพย์ใดให้ผลตอบแทนที่ดีตลอด” แม้ในบางช่วงอาจได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าการคัดเลือกสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง แต่เป็นการลงทุนโดยมุ่งหวังผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวและต้องการลดความผันผวนจากการลงทุนในระยะสั้น หากมีการนำเงินไปลงทุนอย่างสม่ำเสมอ (Dolla Cost Average) ก็จะเป็นการถัวเฉลี่ยราคาต้นทุนทำให้ในระยะยาวมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นได้อีกด้วย  

 

การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน (Asset Allocation) ทำย่างไร 

การลงทุนแบบจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน (Asset Allocation) ที่ดี ควรกระจายการลงทุนหลายสินทรัพย์ เช่น เงินสด ตราสารหนี้ ตราสารทุนหรือหุ้น และสินทรัพย์อื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถกระจายภายในสินทรัพย์เดียวกันได้อีก เช่น สัดส่วนของการลงทุนในตราสารหนี้ ควรกระจายการลงทุนได้ทั้งพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ หรือ สัดส่วนการลงทุนในหุ้น ควรกระจายการลงทุนในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มพลังงาน ธนาคาร ก่อสร้าง หรือ แบ่งกลุ่มเป็นหุ้นพื้นฐานดี หุ้นเติบโตสูง หุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก เป็นต้น หรืออาจจะพิจารณาเพิ่มการกระจายการลงทุนระหว่างประเทศควบคู่กันไปด้วย เนื่องจากแต่ละประเทศมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่เหมือนกัน เช่น หุ้นไทย หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว หุ้นประเทศกำลังพัฒนาหรือตลาดเกิดใหม่ เป็นต้น  

 

ส่วนการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนใดมากหรือน้อยเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก คือ เป้าหมายในการลงทุน ผลตอบแทนที่คาดหวังและที่สำคัญคือความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น หากมีเป้าหมายการลงทุนเพื่อเก็งกำไรในระยะสั้น คาดหวังผลตอบแทนสูง สามารถรับความเสี่ยงได้สูง อาจเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นหรืสินทรัพย์ทางเลือกมากว่าสินทรัพย์อื่น แต่หากเป้าหมายเราต้องการลงทุนในระยะสั้น คาดหวังผลตอบแทนแค่มากกว่าเงินฝาก รับความเสี่ยงได้น้อยถึงปานกลาง อาจเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้มากกว่าสินทรัพย์อื่น เป็นต้น   


สำหรับสมาชิก กบข. เงินที่นำส่งเข้า กบข. เป็นการลงทุนระยะยาวเพื่อเกษียณ ซึ่ง กบข. มีแผนการลงทุนให้สมาชิกเลือหลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับสมาชิก มีทั้งแผนการลงทุนแบบที่ กบข. จัดสรรสินทรัพย์ลงทุน (Asset Allocation) โดยกระจายลงทุนหลายสินทรัพย์ให้อยู่แล้ว หรือที่เรียกว่า “แผนสำรับ” เช่น แผนหลัก แผนหุ้น 35 แผนหุ้น 65 ที่มีนโนบายลงทุนทั้งตราสารหนี้ หุ้น และสินทรัพย์ทางเลือก โดยลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งแต่ละแผนจะมีสัดส่วนการลงทุนแตกต่างกัน เพื่อให้สมาชิกเลือกตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หรืหากสมาชิกต้องการลงทุนตามช่วงอายุ ด้วยหลักการลงทุนอายุน้อยเสี่ยงมากอายุมากเสี่ยงน้อยก็สามารถเลือกแผนสมดุลตามอายุ ซึ่งเป็นแผนที่มีนโยบายปรับลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น  

นอกจากนี้ กบข. ยังมีแผนการงทุนที่มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง หรือที่เรียกว่า แผนสินทรัพย์ เช่น แผนเงินฝากและตราสารหนี้ระยะสั้น แผนตราสารหนี้ แผนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทย แผนหุ้นไทย และแผนหุ้นต่างประเทศ โดยนโยบายของแต่ละแผนมีการกระจายความเสี่ยงภายในสินทรัพย์แล้วระดับหนึ่ง เช่น แผนหุ้นต่างประเทศ ลงทุนทั้งหุ้นในประเทศตลาดพัฒนาแล้วและในตลาดเกิดใหม่ เป็นต้น นอกจากนี้สมาชิกยังสามารถเลือกผสมแผนการลงทุนได้มากกว่า 1 แผนโดยกำหนดสัดส่วนได้ ซึ่งการเลือกแผนแบบผสมสัดส่วนเองนี้ก็ป็นการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน (Asset Allocation) หลายสินทรัพย์ตามสัดส่วนที่ต้องการด้วยตนเอง   

 

ที่สำคัญก่อนตัดสินใจเลือกแผนการลงทุน สมาชิกควรทำแบบประเมินความเสี่ยงที่ กบข. จัดทำขึ้นสำหรับสมาชิก ซึ่งในแบบประเมินความเสี่ยงนอกจะประเมินได้ว่าสมาชิกรับความเสี่ยงได้ในระดับใดแล้ว กบข. ยังแนะนำแผนการลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละระดับความเสี่ยงอีกด้วย  ซึ่งสมาชิกจะเลือกแผนการลงทุนตามที่ กบข. แนะนำหรือไม่ก็ได้ แต่อย่างน้อยจะทำให้สมาชิกรู้ว่า ตนเองรับความเสี่ยงได้ระดับใดและทำให้สมาชิกทราบว่ากำลังเลือกแผนการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือต่ำกว่าที่ตนเองยอมรับได้หรือไม่ นอกจากนี้สมาชิกควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุนของแผนการลงทุนก่อนการตัดสินใจเลือก หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกแผน สามารถนัดหมายที่ปรึกษาทางการเงิน ได้ที่เมนู นัดหมายที่ปรึกษา ได้ผ่าน My GPF Application เพียงรอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับมาตามเวลาที่เลือกนัดหมาย ก็เหมือนมีที่ปรึกษาส่วนตัวที่พร้อมดูแลคุณโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด