บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
สรุปผลการจัดซื้อ-จัดจ้าง
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

รวมเทคนิคการประหยัดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นในชีวิตให้ง่ายเหมือนถอดปลั๊ก




           


แม้ว่าเงินจะไม่ใช่ทุกอย่างในชีวิต แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตไม่ว่าจะเป็นการซื้อสิ่งของหรือกิจกรรมต่างๆ ล้วนต้องมีเรื่องของเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ดังนั้นการมีเงินจึงถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ด้วยภาระค่าใช้จ่ายที่มีอยูมากมายสวนทางกับเงินเดือนที่หามาด้ ทำให้เงินที่มีหมดไปอย่างรวดเร็วเหมือนกับน้ำซึมในบ่อทราย ซึ่งกว่าจะผ่านพ้นไปได้ในแต่ละเดือนเรียกได้ว่าแทบขาดใจกันเลยทีเดียว เป็นปัญหาที่หลายคนต้องพบเจอ หลายคนจึงแก้ปัญหาด้วยการหาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้มีเงินเพียงพอใช้ แต่สำหรับใครที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์เหล่านี้ ก็อย่ามัวเครียดกับการหาเงินเพียงอย่างเดียว ลองหันมาดูแลเรื่องเงินๆ ทองๆ ให้รัดกุมมากขึ้นกว่าเดิมก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้อยู่รอดและมีเงินเหลือเก็บได้ด้วยช่นกัน ซึ่งบทความฉบับนี้มีเทคนิคประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในชีวิตแถมทำได้ง่ายๆ เหมือนถอดปลั๊มาฝากให้ลองปรับใช้กันดังนี้ 


รีวิวค่าใช้จ่ายในแต่ละวันเพื่อให้เห็นตัวเลข หากคุณนึกภาพไม่ออกว่าจะเริ่มลดค่าใช้จ่ายส่วนไหนก่อนดี อันนี้ก็ต้องกิน อันนี้ก็ต้องใช้ แนะนำให้เริ่มต้นด้วยการสำรวจหรือรีวิวค่าใช้จ่ายของตัวเอทุกครั้งที่มีการใช้จ่ายเงิน ด้วยการจดบันทึกรายละเอียดว่าในแต่ละวันคุณได้ใช้เงินไปกับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง แม้ว่าวิธีนี้จะไม่ใชเรื่องแปลกใหม่ แต่เป็นขั้นตอนพื้นฐานที่ทำให้คุณได้ห็นภาพชัดเจนว่าในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ หรือแต่ละเดือน มีรายจ่ายใดที่เป็นรายจ่ายประจำหรือไม่ประจำ รายจ่ายรายการไหนที่มียอดสูงเกินกว่าปกติ และรายจ่ายไหนบ้างที่เราจ่ายไปแล้วรู้สึกว่าเกินความจำเป็ รวมถึงทำให้รู้ว่าควรจะลดจำนวนเงินลงได้จากค่าใช้จ่ายอะไรได้อีกบ้าง โดยไม่กระทบวิถีชีวิตของคุณจนเกินไป   


กำหนดจำนวนเงินที่ใช้จ่ายเป็นรายวันให้เหมาะสมกับเงินที่มี การกำหนดเงินใช้จ่ายเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คุณมีวินัยในการใช้เงิน อีกทั้งยังช่วยในการควบคุมค่าใช้จ่ายได้ป็นอย่างดีภายใต้งบประมาณที่คุณมีในแต่ละวัน เมื่อคุณรู้แล้วว่าในแต่ละเดือนมีค่าใช้จ่ายอะไรที่จำเป็นบ้าง เมื่อมีรายได้เข้ามาหลัจากที่หักค่าใช้จ่ายประจำต่างๆเหล่านั้นออกไปแล้ว ให้คุณนำเงินที่เหลืออยู่มาหารจำนวนวันในแต่ละเดือน ยกตัวอย่างเช่น เงินที่เหลือหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ไปแล้วทั้งเดือน 6,300 บาท นำมาหาร 30 วัน จะพบว่าคุณสามารถใช้เงินได้เท่ากับวันละ 210 บาท วิธีนี้จะทำให้รู้ว่าในแต่ละวันสามารถใช้เงินได้มากที่สุดเท่าไหร่ หากวันไหนที่คุณใช้เกินก็ควรต้องไปลดค่าใช้จ่ายของวันถัดไป หรือวันไหนใช้เงินไม่ถึงงบประมาณที่กำหนดไว้ เงินที่เหลือก็เก็บกลับเข้ากระเป๋าหรือนำไปหยอดกระปุกไว้ก็ไม่ว่ากัน  


ลดปาร์ตี้หลังเลิกงาน หลังเลิกงานเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขของคนทำงาน ที่ต้องนัดผองเพื่อนออกไปร้านอาหารสังสรรค์กินดื่มกัน หนึ่งสัปดาห์นัดกันแบบนี้ 2–3 ครั้งหรือมากกว่านั้น พฤติกรรมแบบนี้ช่วยทำให้เราผ่อนคลายความเครียดจากการทำงานได้ แต่อย่าลืมว่าหากมาเกินไปก็อาจทำให้เกิดความเครียดกับเงินในกระเป๋าของแทนได้ และหากต้องการควบคุมรายจ่ายลองปรับลดจำนวนครั้งของการไปปาร์ตี้หลังเลิกงานหรือลดรายจ่ายแต่ละครั้งลงก็จะทำให้ยังคงได้ผ่อนคลายความเครียดและช่วยเพิ่มเงินออมของไปได้พร้อมๆ กัน โดยอาจจะหันไปคลายเครียดหรือผ่อนคลายในรูปแบบอื่นแทนที่ไม่ได้ใช้เงินหรือใช้เงินน้อยลง เช่น การอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง หรือ การออกกำลังกายในสวนสาธารณะแทน  


เปลี่ยนเครื่องดื่มแก้วโปรดให้กลายเป็นเงินเก็บ หากคุณเป็นพวกสายดื่มไม่ว่าจะเป็น ชา กาแฟ น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ต่างๆ การได้ดื่มสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นความสุขของวัน ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า แม้จะรู้สึกดีแต่เมื่อนำเงินที่จ่ายค่าเครื่องดื่มเหล่านี้มาดูจะพบว่ารวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เงินหมดกระเป๋าด้แบบไม่รู้ตัว ดังนั้นเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแก้วโปรดของคุณ โดยไม่จำเป็นต้องงดหรือตัดสิ่งเหล่านี้ลงทั้งหมด แต่อาจเลือกลดปริมาณตามความเหมาะ เช่น จากการดื่มวันละ 2 แก้ว ให้เหลือวันละ 1 แก้วต่อวัน หรือหากงดไม่ได้จริงๆ ก็ใช้วิธีการลดราคาลงจากเดิมเคยซื้อแก้วละ 70 บาท เปลี่ยนไปซื้อแก้วละไม่เกิน 50 บาท หรือลองชงดื่มเอง ทำแบบนี้ทุกวัน วันละนิดก็ทำให้คุณประหยัดเงินในกระเป๋าเพื่อเหลือไว้เป็นเงินเก็บได้โดยที่คุณยังได้ดื่มเครื่องดื่มแก้วโปรดเช่นเดิม 


ลดค่าบริการรายเดือนบางอย่างที่ไม่ใช้งาน ในแต่ละเดือนคุณหมดค่าใช้จ่ายรายเดือนไปกับความบันเทิงใดไปบ้าง เช่น ค่าออกกำลังกาย หรือค่าฟิตเนส แพคเกจค่าโทรศัพท์ละอินเทอร์เน็ตที่มีราคาสูงเกินไป ค่าแพคเกจดูหนังฟังเพลงออนไลน์ รวมถึงแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณได้กดติดตามไว้มากมาย ค่าบริการเหล่านี้ดูดเงินในกระเป๋าคุณไปไม่น้อยเลย ลองทบทวนดูว่ามีบริการใดที่คุณไม่ค่อยได้ใช้งานหรือใช้ไม่คุ้มค่า เป็นไปได้ไหมที่คุณจะปิดการใช้งานหรือยกเลิกค่าใช้จ่ายตรงนี้ เพียงแค่นี้ก็ทำให้คุณมีเงินเหลือออมหรือนำไปใช้จ่ายอย่างอื่นที่จำเป็นกว่าแทนได้  


ลดการใช้พลังงานในแต่ละเดือน เพียงแค่คุณปรับวิถีชีวิตเล็กน้อยในบ้าน เช่น ปิดไฟ ปิดสวิตช์หรือถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งที่ไม่ใช้งาน เลือกใช้หลอดไฟที่มีการใช้พลังงานต่ำ ปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความร้อนให้เหมาะสม ถ้ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าที่อาจกินไฟเกินไปก็ควรต้องเปลี่ยน แม้ว่าการลดการใช้พลังงานในแต่ละเดือนจะช่วยได้เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าทำเป็นประจำทุกวันก็ทำให้คุณเห็นความแตกต่างและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้อย่างแน่นอน  


หาตัวช่วยทางการเงิน การบันทึกรายรับรายจ่ายทุกวันหลายคนคงมองว่าเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ก็ทำให้ยุ่งยากจริงไหม จดแล้วไม่รู้จะเอาไปเก็บไว้ตรงไหน จดแล้วหลงลืมไปบ้าง หากมีตัวช่วยดีๆ จะช่วยให้คุณสามารถจดบันทึกรายรับรายจ่ายและวางแผนทางการเงินได้ง่ายและดียิ่งขึ้น อย่างโปรแกรมบันทึกรายรับ-รายจ่าย ที่พัฒนาโดย กบข.  เป็ตัวช่วยสรุค่าใช้จ่ายในการบันทึกรายรับและรายจ่ายต่างๆ ในชีวิตประจำวันของคุณให้ง่าย โดยแยกตามหมวดหมู่ และสามารถดูประวัติใช้จ่ายย้อนหลังในแต่ละวันได้ เพื่อให้คุณตระหนักและวางแผนควบคุมการใช้จ่ายได้มากขึ้น  


มาถึงตรงนี้บทความนี้ยังมีข้อมูลมาแชร์เพิ่มเติม จากผลสำรวจโพลความคิดเห็นสมาชิก กบข. เรื่อง “ค่าใช้จ่ายอะไรที่สมาชิก กบข. สามารถตัดหรือลดลงได้ โดยการสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมของสมาชิกที่มีต่อการใช้จ่ายและการออม เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาการสื่อสารและส่งเสริมการออมให้กับสมาชิกในเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยผลการสำรวจจากข้อคำถามที่ว่าหากสมาชิก “มีความจำเป็นต้องสะสมเงินจำนวน 560 บาท ให้ได้ต่อเดือน คุณจะสามารถตัดลดค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ ซึ่งพบว่าสมาชิกส่วนใหญ่ ร้อยละ 93.7 สามารถตัดหรือลดค่าใช้จ่ายได้ ในขณะที่สมาชิกอีกร้อยละ 6.3 ไม่สามารถตัดหรืิอลดค่าใช้จ่ายได้ ทั้งนี้ ยังพบว่าจำนวนเงินที่เหลือออมจากการตัดหรือลดค่าใช้จ่ายต่อเดือนของสมาชิกออกไปเฉลี่ยอยู่ที่ 2,137 บาท และประเภทรายการที่สมาชิกสามารถตัดหรือลดค่าใช้จ่ายได้ 3 อันดับแรก ได้แก่  

อันดับ 1 การสังสรรค์กับเพื่อน ร้อยละ 53.3  

อันดับ 2 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์ ไวน์ ร้อยละ 48 

อันดับ 3 ซื้อเครื่องดื่มที่ทำทานเองได้ เช่น กาแฟ น้ำแดง มะนาวโซดา ร้อยละ 46.7  

 

จะเห็นว่าเพียงแค่ปรับวิถีการดำเนินชีวิตล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายบางอย่างได้และทำให้มีเงินเหลือในกระเป๋าเพิ่มขึ้น และนี่คือเทคนิคบางส่วนของการปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นให้รู้สึกง่ายเหมือนแค่ถอดปลั๊กที่นำมาฝากกันในฉบับนี้ ซึ่งอาจไม่ได้เหมาะกับคุณทั้งหมด เพราะภาระค่าใช้จ่ายของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป แต่เชื่อเถอะว่าการเริ่มต้นด้วยการหมั่นรีวิวและตั้งใจที่จะลดค่าใช้จ่ายอยู่เสมอ โดยเริ่มจากค่อยๆ ลดไปทีละรายการ แม้จะลดได้เพียงน้อยนิดไม่กี่สิบบาท แต่ก็ยังดีกว่าไม่ลดเลย จริงไหม?