บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
สรุปผลการจัดซื้อ-จัดจ้าง
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

มูลคาต่อหน่วย หรือ NAV/Unit ถูกหรือแพง บอกความน่าสนใจของแผนการลงทุนจริงหรือ





            



ปัจจุบัน กบข. มีแผนการลงทุนให้สมาชิกเลือกทั้งหมด 12 แผน แต่ละแผนการลงทุนมีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างกัน จึงทำให้มูลค่าต่อหน่วย หรือ NAV/Unit มีราคาที่แตกต่างกัน  

สมาชิกบางท่านอาจเข้าใจว่า มูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) ที่มีราคาถูกกว่าเป็นแผนที่น่าสนใจ เนื่องจากเลือกแล้วจะได้หน่วยที่มากกว่า จึงใช้ประเด็นนี้ในการตัดสินใจเลือกหรือเปลี่ยนแผนลงทุน แต่จริง ๆ แล้วเป็นอย่างไร มาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน  

 

  • มูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) คืออะไร ?   

มูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) จะคำนวณตามราคาลาดของสินทรัพย์ที่ลงทุนตามนโยขายของแผลงทุนนั้น ซึ่งจะมีการคำนวณมูลค่าสินทรัพย์ตามราคาตลาด หรือที่เรียกว่า Mark to Market จากราคาปิดทุกสิ้นวันทำการ  

มูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) จะมีมูลค่ามากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์ตามนโยบายการลงทุน เช่น แผนตราสารหนี้ มูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) จะคำนวณจากมูลค่าของตราสารหนี้ ณ สิ้นวัน หารด้วยจำนวนหน่วยที่สมาชิกเลือก เป็นต้น ซึ่งมูลค่าต่อหน่วยนี้จะมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ทุกวัน โดยจะลดลงหรือเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์นั้น และที่สำคัญมูลค่าของสินทรัพย์นี่เองที่จะเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นการเติบโตของมูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) หรือผลตอบแทนของแผนการลงทุนนั้นนั่นเอง  

 

  • เลือก NAV/Unit ถูกหรือแพงแบบไหนดี ?   

เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นขอยกตัวอย่างโดยสมมุติให้จำนวนเงินที่เปลี่ยนแผนได้เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท โดยไม่คำนึงถึงเงินที่จะนำส่งใหม่ในแต่ละเดือนเพื่อการอธิบายที่ชัดเจน กรณีที่สมาชิกเปลี่ยนแผนลงทุนในวันที่ 31 มีนาคม 2564 ถ้าเลือก แผน A มูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) 26.5611 บาท จะได้ 3,765 หน่วย ถ้าเลือกแผน B มูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) 20.0284 บาท จะได้ 4,993 หน่วย (ตามตารางที่ 1) เห็นแบบนี้แล้วสมมุติว่าสมาชิกตัดสินใจเลือกแผน B ที่มีมูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) ต่ำกว่า เพื่อจะได้จำนวนหน่วยมากกว่า




เมื่อเวลาผ่านมา 1 ปี มูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) ของแผน A เพิ่มจาก 26.5611 เป็น 27.4954 หรือเพิ่มขึ้น 3.51% ส่วนแผน B เพิ่มจาก 20.0284 เป็น 20.1439 หรือเพิ่มขึ้น 0.58% (ตามตารางที่ 2)  





เมื่อนำจำนวนหน่วยคูณด้วยมูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) จะเห็นว่า เวลาผ่านมา 1 ปี สมาชิกลือกแผน B ยอดเงินเพิ่มขึ้นเพียง 579 บาท จะเห็นได้ว่าแผน B แม้มูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) จะถูกกว่า ได้จำนวนหน่วยที่มากกว่า แต่อัตราการเติบโตของมูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) ของ B น้อยกว่า ผลตอบแทนที่ได้ก็น้อยกว่าตามไปด้วย (ตามตารางที่ 3) แต่ถ้าวันนั้นสมาชิกเลือกแผน A แม้จะได้จำนวนหน่วยน้อย แต่ยอดเงินจะเพิ่มขึ้น 3,520 บาท ซึ่งมากกว่าแผน B  


 


ดังนั้นมูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) ของแผนลงทุนที่ราคาถูกกว่า ทำให้ได้หน่วยมากกว่า ไม่ได้ทำให้ได้ผลตอบแทนที่ได้รับมากกว่าเสมอไป เพราะผลตอบแทนจากแผนลงทุนมาจากอัตราการเติบโตของมูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) ของแผนลงทุนนั้น ซึ่งอัตราการเติบโตของของมูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนหรือมูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุนดังกล่าวข้างต้น   

หากสมาชิกต้องการเลือกแผนการลงทุนควรเลือกจากนโยบายของการลงทุน สินทรัพย์ที่ลงทุน แนวโน้มการเติบโตในอนาคตโดยอาจดูจากผลตอบแทนในอดีตหรือความผันผวนของมูลค่าต่อหน่วยที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ประกอบการตัดสินใจ แต่อย่าลืมว่าผลตอบแทนในอดีตไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคตได้ แค่ใช้ดูเป็นแนวโน้มเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญสมาชิกควรเลือกแผนลงทุนที่เหมาะกับระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ เลือกนโยบายการลงทุนสอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุระยะยาวเพื่อเกษียณ และไม่ควรเปลี่ยนแผนลงทุนบ่อยๆ หรือเปลี่ยนแผนลงทุนตามจังหวะของตลาด เนื่องจากอาจตัดสินใจผิดพลาดได้  


มูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) ของแผนลงทุนต่างแผนกัน ไม่ได้บอกว่าแผนลงทุนไหนจะดีกว่า เพราะนโยบายการลงทุนแตกต่างกัน ไม่ควรตัดสินใจลือกมูลต่อหน่วยถูกกว่าเพราะจะได้จำนวนหน่วยมากกว่า เปรียบเสมือนการตัดสินใจเลือกซื้อของที่ไม่เหมือนกัน เช่น ระหว่างซื้อทองคำกับซื้อที่ดิน ราคาเริ่มต้นไม่เหมือนกัน จำนวนที่ได้ก็ไม่เท่ากัน ปัจจัยหรือโอกาสในการเติบโตของราคาหรือผลตอบแทนที่ได้รับก็ย่อมแตกต่างกัน   

ซึ่งแตกต่างจาก มูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) ของแผนลงทุนเดิมที่ลงทุนอยู่ เมื่อมูลค่าต่อหน่วยปรับลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ ในเดือนนั้นเงินนำส่งที่เข้ามาใหม่ ก็จะได้จำนวนหน่วยมากขึ้น เปรียบเสมือนการซื้อทองแบบเดิมที่เคยซื้อในวันที่ราคาทองลดลงก็จะได้ทองมากขึ้น สะสมไปเรื่อย บางเดือนซื้อถูก บางเดือนซื้อแพง เป็นการเฉลี่ยต้นทุน เพื่อรอขายในวันที่เกษียณหรือออกจากราชการ หรือวันที่จะเปลี่ยนแผนลงทุนใหม่อีกครั้ง