บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
สรุปผลการจัดซื้อ-จัดจ้าง
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

เปลี่ยนรายจ่ายเล็กๆให้เป็นเงินออมด้วย Latte Factor Theory





คุณอาจคาดไม่ถึงว่าการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นแม้เพียงเล็กๆ น้อยๆ เช่น ค่ากาแฟ ค่าขนมขบเคี้ยว หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เราใช้จ่ายในทุกวันสามารถนำไปสู่การมีเงินออมก้อนใหญ่ได้ไม่ยาก บทความฉบับนี้จึงอยากพามารู้จักกับทฤษฎี Latte Factor ด้วยเทคนิคง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณเปลี่ยนค่าใช้จ่ายเล็กๆ เป็นเงินเก็บได้และมีชีวิตการเงินที่ดีขึ้น


รู้จัก Latte Factor ทฤษฎีที่บอกว่า อย่ามองข้ามรายจ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแต่ละวัน 

Latte Factor คือ ทฤษฎีที่เกิดขึ้นมาจากการใช้ชีวิตของคนทั่วไปที่มักจะซื้อกาแฟในทุกๆ วันด้วยการใช้เงินทีละเล็กละน้อยอย่างไม่รู้ตัว แต่เมื่อลองคิดคำนวณเงินทั้งหมดที่ใช้ไปกับค่ากาแฟต่อปีก็จะพบว่าเงินเล็กน้อยที่ใช้ในทุกวันนั้นสามารถกลายเป็นเงินก้อนได้อย่างคิดไม่ถึง ซึ่งแม้ว่าทฤษฎีนี้จะมีชื่อว่า Latte แต่ความจริงแล้วไม่ได้มีแค่กาแฟอย่างเดียวที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินออมได้ตามที่ทฤษฎีเปรียบเปรยไว้เท่านั้น แต่ทฤษฎีนี้ยังนับรวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอื่นๆ เช่น การกินเลี้ยงสังสรรค์กับเพื่อน การสันทนาการต่างๆ เช่น ดูหนัง ดูคอนเสิร์ต หรือ การเดินทางท่องเที่ยวอีกด้วย 

ทีนี้มาลองคิดกันเล่นๆ ว่าถ้าเราลองเปลี่ยนค่ากาแฟหรือค่าเครื่องดื่มที่เราดื่มทุกๆวัน ทุกๆ เดือน หากนำมารวมๆ กันแล้วค่าใช้จ่ายที่เราเสียไปเมื่อนำมาคิดเป็นระยะเวลาต่างๆ จะเท่ากับกี่บาทกันนะ? 


จากตัวอย่างเมื่อนำมาคิดคำนวณตามระยะเวลาต่างๆ ออกมาแล้วก็จะพบว่าตัวเลขค่าใช้จ่ายในแต่ละวันเป็นตัวเลขแค่หลักสิบ แต่เมื่อคูณระยะเวลา 1 ปี ตัวเลขก็แปรเปลี่ยนเป็นเงินหลักหมื่น หรือหากภายในเวลา 5 ปี ก็ยิ่งทวีคูณเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นหลักแสนเลยทีเดียว ไม่น่าจะเชื่อว่าค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ อย่างค่ากาแฟ หรือเครื่องดื่มที่เราจ่ายไปง่ายๆ ด้วยราคาแค่หลักสิบ แต่เมื่อต้องจ่ายไปทุกวันก็กลายเป็นเงินหลักแสนได้เลยทีเดียว แม้แต่การไปกินเลี้ยงสังสรรค์กับเพื่อน “แค่” เดือนละครั้ง ครั้งละประมาณ 3,000 บาท/เดือน แต่พอลองดูตัวเลขที่คิดออกมา หลายคนถึงกับร้องโอ้โห! และคงจะใช้คำว่า “แค่” ไม่ได้อีกต่อไป 

เช่นเดียวกันหากเราลองเปลี่ยนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นสักหนึ่งรายการ ถ้า “งด” ยังไม่ได้ลอง “ลด” อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ยกตัวอย่าง หากลดค่ากินเลี้ยงสังสรรค์กับเพื่อนจากเดือนละ 3,000 บาท เป็นเดือนละ 1,500 บาท จะทำให้มีเงินออมเพิ่มขึ้นเดือนละ 1,500 บาท หรือปีละ 18,000 บาท หากมาแปรเปลี่ยนให้กลายมาเป็นเงินออมหรือเงินลงทุนแทน ในช่วงระยะเวลา 1 ปี 3 ปี ไปจนถึง 5 ปี จะทำให้เรามีเงินออมเพิ่มขึ้นเท่าไหร่กันนะมาดูกัน  

    จากตัวอย่างการลดค่ากินเลี้ยงสังสรรค์กับเพื่อนจากเดือนละ 3,000 บาท เป็น 1,500 บาท ทำให้เรามีเงินออมเพิ่มขึ้นเดือนละ 1,500 บาท หรือปีละ 18,000 บาท หากนำไปฝากประจำกับธนาคาร ได้ดอกเบี้ยปีละ 1.25% จะเห็นว่าภายในระยะเวลาเพียง 5 ปี เราสามารถสร้างเงินออมได้มากถึง 93,432 บาท เป็นเงินต้นที่เราฝากเอง 90,000 บาท และมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 3,432 บาท บาท  

แล้วถ้าลองเปลี่ยนโดยการนำเงินออมที่ได้จากการประหยัดค่าใช้จ่ายไปลงทุนเพิ่มผลตอบแทนอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี หากได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี ภายในระยะเวลา 5 ปี เช่นกันเราจะสร้างเงินออมได้มากยิ่งขึ้นเป็น 104,434 บาท โดยเป็นเงินต้นของเรา 90,000 บาท และมีผลตอแทนงอกเงยมา 14,434 บาท  

 

สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ อาจพอมองเห็นภาพและเริ่มมีความคิดที่อยากลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันดูบ้าง จากตัวอย่างการบริหารค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพียงแค่เราลองทบทวนค่าใช้จ่ายที่เราจ่ายในแต่ละวัน ด้วยการบันทึกรายรับรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ จากนั้นนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมาวางแผน ลด หรืองดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น อย่างเช่น ค่ากาแฟ หรือ ค่ากินเลี้ยงสังสรรค์กับเพื่อน แล้วนำเงินก้อนที่ประหยัดได้นั้นมาฝากประจำหรือลงทุนเพื่อเพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทน ก็สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเงินก้อนนั้นได้ ขอเพียงมีวินัยในการควบคุมรายจ่ายและออมเงินหรือลงทุนอย่างสม่ำเสมอ แล้วปล่อยให้ตัวเงินทำหน้าที่ตามกลไกดอกเบี้ยทบต้น หรือจะลองเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการ “ออมเพิ่ม” กับ กบข. ในทุกครั้งที่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ หรือจะวางแผนเพิ่มเงินออมทุกครั้งที่เงินเดือนเพิ่มขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบกับรายจ่ายจำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบัน ที่สำคัญยิ่งใครเริ่มต้นออมเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะจะมีระยะเวลาในการออมอีกนานกว่าจะเกษียณ และยังมี “พลังดอกเบี้ยทบต้น” เป็นตัวช่วยเพิ่มพลังชั้นดีให้กับเงินออม กบข. ของสมาชิก เพื่อให้มีเงินใช้หลังเกษียณได้อย่างที่ต้องการ   

 

ท้ายนี้การมีชีวิตการเงินที่ดีขึ้นไม่ใช่เรื่องยาก…เพียงแค่ลองเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างลง โดยเริ่มต้นง่ายๆ จากการ “ลด” แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็น “งด” เสริมด้วยการสร้างวินัยในการออมและการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ใครๆ ก็สามารถมีเงินเก็บก้อนโตในอนาคตได้ไม่ยากเลย