บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

จิตวิทยาการลงทุน




           

        จิตวิทยาการลงทุน เป็นศาสตร์ด้านการลงทุนที่น่าสนใจและให้ประโยชน์แก่ผู้ลงทุนที่ได้ศึกษาเป็นอย่างมาก หนังสือเรื่อง “The Psychology Of Investing” จึงเป็นหนังสืออีกหนึ่งเล่มที่คอลัมน์ลงทุ้นลงทุนอยากแนะนำให้สมาชิกได้ติดตาม “จิตวิทยาการลงทุน” เป็นหนังสือซึ่งถูกเขียนขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการลงทุนอันดับต้นๆ ของโลก “จอห์น นอฟซิงเกอร์ (John R. Nofsinger)” และแปลเป็นภาษาไทยโดยคุณพิริยะ พาณิชย์ชะวงศ์ ใจความสำคัญของหนังสือได้กล่าวถึงอคติทางความคิดต่างๆ ในหลากหลายรูปแบบที่ซุกซ่อนอยู่ในจิตใจของมนุษย์ทุกคนซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจ โดยรายละเอียดจะเป็นการชี้ให้เห็นถึงลักษณะทางจิตวิทยาผ่านการอธิบายโดยใช้ตัวอย่างจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวันและผลลัพธ์จากงานวิจัยต่างๆ ที่จะแสดงให้เห็นว่าอคติเหล่านั้นมีผลกระทบต่อผู้คนและนักลงทุนอย่างไร การทำความรู้จักและเรียนรู้กับอคติทางความคิดในโลกของการลงทุนจากหนังสือเล่มนี้ จะทำให้คุณรู้เท่าทันอคติที่ส่งผลเสียต่อการลงทุน และที่สำคัญจะช่วยให้เราเรียนรู้วิธีการใช้อคติให้เกิดประโยชน์ต่อการลงทุนได้มากที่สุดจากอคติต่างๆ ดังต่อไปนี้


          ความมั่นใจมากเกินไป (Overconfidence) 

นักลงทุนส่วนใหญ่มักจะมีความมั่นใจมากเกินไปในความสามารถของตัวเอง คิดว่าตัวเองสามารถควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ ได้ดี คติจากการเข้าข้างตัวเอง (Self-attribution) มักจะเกิดขึ้นหลังจากได้ประสบความสำเร็จในตลาดลงทุนึ่งส่วนใหญ่เกิดในช่วงภาวะกระทิงที่ตลาดส่วนใหญ่กำลังเติบโต ใครที่ลงทุนในช่วงนั้นต่างก็ประสบความสำเร็จ แต่นักลงทุนมักเชื่อว่าความสำเร็จนั้นมาจากทักษะของตนเอง ความมั่นใจมากเกินไปนี้จะส่งผลทำให้นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะคิดวิเคราะห์ระหว่างการตัดสินใจลงทุนน้อยลง 

การเรียนรู้และเตรียมตัวมาอย่างดีและเข้าใจความผันผวนของตลาดการลงทุนจะช่วยลดความมั่นใจที่มากเกินไปของตนเองได้ และหมั่นเตือนสติตัวเองเสมอว่าเรากำลังมองข้ามความเสี่ยงอะไรไปบ้างหรือไม่ ตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์จากข้อมูลในอดจะช่วยประเมินราคาที่เหมาะสมได้มากขึ้นแทนการคิดหรือวิเคราะห์จากความรู้สึกหรือความคิดของตนเอง หรือการศึกษาเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่ส่งผลต่อความผันผวนของการลงทุนจะช่วยทำให้เข้าใจสถานการณ์ลงทุนในปัจจุบันได้มากขึ้นแทนการคิดวิเคราะห์ของตนเองเพียงอย่างเดียว  

 

บัญชีในใจ (Mental accounting)  

บัญชีในใจเปรียบเสมือนตู้จัดเก็บเอกสาร ซึ่งในแต่ละการตัดสินใจผลลัพธ์ของการกระทำไม่ว่าจะเป็นต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้จากการตัดสินใจลงทุนแต่ละครั้งได้ถูกจัดเก็บไว้ในไฟล์เอกสารที่ถูกแยกกันเก็ในตู้หรือสมองของคนเราจะจดจำเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นฝังใจแยกทีละเหตุการณ์ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในอนาคตได้   ตัวอย่างเช่น ในอดีตเคยลงทุนในหุ้นแล้วขาดทุน ทำให้เชื่อว่าการลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยงไม่กล้าลงทุนแม้ว่าหุ้นโดยเฉลี่ยจะให้ผลตอบแทนในระดับสูง นอกจากนี้แทนที่นักลงทุนจะสร้างพอร์ตการลงทุนที่มีการกระจายลงทุนในหลายสินทรัพย์ แต่กลับมองเป็นบัญชีในใจที่แยกจากกัน เช่น มองแยกเป็น หุ้น ตราสารหนี้ หรือ สินทรัพย์อื่น แต่ละสินทรัพย์แยกจากกัน เมื่อไม่กล้าลงทุนในหุ้นพอร์ตการลงทุนจึงไม่มีหุ้นอยูเลย แต่หากมองพอร์ตการลงทุนเป็นภาพรวมการจัดพอร์ตการลงทุนโดยลงทุนหลายสินทรัพย์จะช่วยลดความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตการลงทุนได้  

สำหรับนักลงทุนที่ชอบแนวคิดเกี่ยวกับการกระจายความเสี่ยง แต่กลับไม่ได้จัดพอร์ตโดยกระจายความเสี่ยงหลายสินทรัพย์ตามทฤษฎีพอร์ตการลงทุน โดยมักจะมีบัญชีในใจที่แยกออกจากกันสำหรับแต่ละเป้าหมายในการลงทุน โดยการหาหลักทรัพย์ที่เข้ากับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คาดหวังของแต่ละบัญชีในใจ เช่น นักลงทุนมีเป้าหมายลงทุนที่ต้องการความปลอดภัย จึงลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น เงินฝาก กองทุนรวมตลาดเงิน แต่หากนักลงทุนมีเป้าหมายเพื่อต้องการรายได้จากการลงทุน จึงลงทุนในตราสารหนี้ หรือ หุ้นที่มีเงินปันผลสูง เป็นต้น โดยสรุปแล้วการจัดสรรหลักทรัพย์ทั้งหมดในพอร์ตของนักลงทุนถูกกำหนดโดยปริมาณเงินที่ถูกจัดแบ่งในแต่ละเป้าหมายหรือแต่ละบัญชีในใจ ส่งผลให้การกระจายความเสี่ยงของนักลงทุนมาจากการกระจายเป้าหมายในการลงทุนมากกว่าที่จะเป็นการกระจายประเภทของสินทรัพย์อย่างมีแบบแผน ซึ่งในที่สุดแล้วนักลงทุนจะไม่มีพอร์ตการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ  

 

การแทนค่าและความคุ้นเคย (Representativeness and Familiarity) 

นักลงทุนมักจะลงทุนหรือถือหุ้นเฉพาะกับสินทรัพย์ที่อยู่ในประเทศที่เราอาศัยอยู่หรือคุ้นเคย (Familiarity bias) เป็นสัดส่วนมากกว่าหุ้นที่ไม่รู้จัก เสมือนการลงทุนอยู่ใน Comfort Zone พวกเขาจะใช้รูปแบบของราคาในอดีตในการเลือกลงทุน (Representativeness bias) ตัวอย่างเช่น หุ้นตัวหนึ่งมีผลตอบแทนที่ไม่ดีในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมาจะถูกมองว่าเป็นหุ้นไม่ดี ในทางกลับกันหุ้นที่มีผลงานที่ดีเยี่ยมในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมาจะถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่ดี โดยเชื่อว่าผลตอบแทนในอดีตเป็นสิ่งที่คาดหวังได้ในอนาคต การใช้การแทนค่าและความคุ้นเคยในการวิเคราะห์ตลาดหรือเลือกลงทุนในหุ้นที่คุ้นเคย ทำให้นักลงทุนมองข้ามข้อมูลที่สำคัญและทำให้ตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง นำไปสู่การกระจายความเสี่ยงที่ต่ำเกินไปหรือมีระดับความเสี่ยงที่สูงเกินไปได้ 

 

จากอคติต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว เป็นการหยิบยกอคติที่น่าสนใจมาสรุปเป็นตัวอย่างไว้ในบทความนี้ ยังมีอคติที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนที่น่าสนใจอีกหลายประเด็น หากสมาชิกสนใจสามารถอ่านหนังสือ “จิตวิทยาการลงทุน”  เพิ่มเติมได้ สิ่งที่สำคัญนอกจากเรารู้ถึงอคติที่อาจเกิดขึ้นกับเราโดยไม่รู้ตัวแล้ว นังสือเล่มนี้ยังมีคำแนะนำกลยุทธ์ในการเอาชนะอคติทางความคิดที่น่าสนใจ ดังนี้ 

 

กลยุทธ์ที่ 1 ทำความเข้าใจกับอคติเหล่านี้ การรู้เท่าทันอคติของตนเองและคนอื่น เพื่อที่จะเรียนรู้ในการหลีกเลี่ยง  

กลยุทธที่ 2 รู้ว่าทำไมเราจึงลงทุน คนส่วนใหญ่มีเพียงภาพกว้างๆ ของเป้าหมายในการลงทุน เช่น ไม่ต้องการจนเมื่อเกษียณ ซึ่เป้าหมายกว้างๆ เหล่านี้แทบไม่ได้ช่วยกำหนดทิศทางในการลงทุนเลย การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและวิธีการที่จะไปให้ถึงเป้าหมายนั้นเป็นเรื่องสำคัญแทนที่จะคิดแบบกว้างๆ การมีเป้าหมายที่ชัดเจนตัวอย่างเช่น กำหนดให้แน่ชัดว่าเรามีความต้องการอะไร ต้องใช้เงินจำนวนเท่าไหร่ ในระยะเวลาเท่าไร เช่น ปัจจุบันอายุ 45 ปี ต้องการมีเงินใช้หลังเกษียณเดือนละ 30,000 บาท ดยคาดว่าใช้ชีวิตหลังเกษียณไปอีก 30 ปี เป็นต้น การมีที่เป้าหมายที่ชัดเจนจะทำให้เราเห็นความสำคัญของเป้าหมาและวางแผนลงทุนได้ วัดผลของความคืหน้าได้ว่าพฤติกรรมของเราหรือการลงทุนของเรานั้นยังสอดคล้องกับเป้าหมายหรือไม่  

กลยุทธ์ที่ 3 ระบุเงื่อนไขการลงทุน การกำหนดเงื่อไขในการลงทุนทั้งในเชิงปริมาณ (ตัวเลข) และเชิงคุณภาพ (ข้อมูล) ดังนั้นก่อนการเข้าลงทุนไม่ว่าจะเป็นการซื้อหุ้นหรือการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม ควรเปรียบเทียบลักษณะของแต่ละตัวว่าเข้ากับเงื่อนไขการลงทุนของเราหรือไม่ หากไม่เข้าเงื่อนไขก็อย่าลงทุน วิธีนี้จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการเกิดอคติทางความคิดและจำกัดการตัดสินใจลงทุนที่ถูกครอบคลุมด้วยอารมณ์ได้ 

กลยุทธ์ที่ 4 กระจายความเสี่ยง การตั้งกฎง่ายๆ ในการกระจายความเสี่ยงช่วยทำให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงที่จะขาดทุนอย่างหนักได้ เช่น การกระจายความเสี่ยงโดยการถือครองหุ้นหลากหลาย การถือครองหุ้นในบริษัทที่ทำงานอยู่ในสัดส่วนที่น้อย หรือในพอร์ตการลงทุนควรลงทุนในตราสารหนี้หรือกองทุนตราสารหนี้ด้วย เป็นต้น นอกจากนี้การกระจายความเสี่ยง ยังป้องกันอคติทางความคิดจากการยึดติด (Endowment Effect) และความคุ้นเคยด้วย (Familiarity) 

กลยุทธ์ที่ 5 ควบคุมสภาพแวดล้อมในการลงทุน คนจำนวนมากที่ตรวจเช็พอร์ตการลงทุนอยู่ตลอดเวลาในที่ทำงาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เร่งให้เกิดผลของอคติทางความคิด ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดการเสียสมาธิและก้าวข้ามอคติเหล่านี้ไปได้ มีวิธีที่จะช่วยควบคุมสภาพแวดล้อมในการลงทุน ยกตัวอย่างเช่น จำกัดการตรวจเช็คพอร์ตการลงทุนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือทำการซื้อขายเพียงเดือนละครั้ง โดยกำหนดให้เป็นวันเดียวกันทุกเดือน เช่น การลงทุนแบบ DCA (Dolla Cost Average) เป็นการกำหนดวันที่ลงทุนอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนหรือทุกปี โดยไม่สนใจราคาหุ้นหรือมูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) เป็นต้น สำหรับสมาชิก กบข. การนำส่งเงินเข้า กบข. ทุกเดือนก็เป็นการลงทุนแบบ DCA เช่นกัน นอกจากนี้ควรมีทบทวนพอร์ตการลงทุนปีละครั้ง เพื่อดูว่ายังสอดคล้องกับเป้าหมายหรือไม่  

 

การลงทุนที่ประสบความสำเร็จอาจไม่ใช่แค่การมีความรู้เกี่ยวกับสินทรัพย์ลงทุนเพียงอย่างเดียว เพราะการตัดสินใจลงทุนมักจะมีอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นลองสำรวจตัวเองว่าเรามีแนวโน้มที่จะมีอคติเหล่านี้บ้างหรือไม่ หากจัดการอคติทางการลงทุนออกไปให้ได้บ้าง จะช่วยทำให้พอร์ตการลงทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อผลตอบแทนที่เหมาะสม สำหรับสมาชิกที่สนใจในรายละเอียดเชิงลึกมากว่านี้สามารถตามอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมในหนังสือ “จิตวิทยาการลงทุน” The Psychology of Investing หรือหากสนใจซื้อหนังสือ สามารถซื้อหนังสือโดยใช้สิทธิ์ส่วนลดได้ที่ร้าน SE-ED ร้าน B2S หรือ ร้านนายอินทร โดยกดรับสิทธิ์ส่วนลดผ่าน My GPF Application และแสดงที่จุดชำระเงินได้เลย