บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

เลือกลงทุนอย่างไร ระหว่างกำไรระยะสั้นกับระยะยาว



           

        คงเป็นที่ทราบกันดีว่าตลาดลงทุนในปัจจุบันมีความผันผวนสูง จากผลกระทบทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงภาวะเงินเฟ้อสูงในหลายประเทศ ส่งผลให้สมาชิกมักจะมีคำถามว่าในช่วงระยะสั้นๆนี้ ควรเปลี่ยนเป็นแผนการลงทุนไหนดี หรืออยู่กับแผนการลงทุนเดิมไปยาว ๆ แบบไหนจะดีกว่ากัน บทความฉบับนี้จึงขอพาไปทำความรู้จักกับการลงทุนทั้งสองรูปแบบให้เห็นถึงคุณลักษณะของการลงทุนแต่ละแบบว่ามีจุดเด่น หรือข้อแตกต่างกันอย่างไร เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนที่เหมาะกับตัวเองได้

ความแตกต่างของการลงทุน ระยะสั้น VS ระยะยาว 


การลงทุนระยะสั้น มีระยะเวลาการลงทุนตั้งแต่ 1-3 เดือน หรือ 6 เดือน ไปจนถึง 1-3 ปี เป้าหมายการลงทุนในระยะสั้นส่วนใหญ่เป็นการลงทุนที่เน้นสภาพคล่องสูง หรือต้องการพักเงินเพื่อนำเงินไปลงทุนหรือนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นต่อไป จึงมุ่งหวังผลกำไรหรือผลตอบแทนแค่เพียงมากกว่าเงินฝาก สินทรัพย์การลงทุนในระยะสั้นมักจะเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ สลากออมทรัพยระยะไม่เกิน 3 ปี  เป็นต้น  

แต่มีผู้ลงทุนบางส่วนที่ต้องการลงทุนระยะสั้น เพื่อทำกำไรากความผันผวนของตลาด หรือที่เราเรียกว่าการจับจังหวะการลงทุน ซึ่งการลงทุนในลักษณะเช่นนี้มีความเสี่ยงสูง ผู้ลงทุนต้องมีความรู้และความชำนาญในการวิเคราะห์ตลาดและติดตามการเคลื่อนไหวของราคาอย่างใกล้ชิด รวมถึงมีความพร้อมทางการเงินและสามารถรับความผันผวนของตลาดในระยะเวลาสั้นได้สูงเช่นกัน 


การลงทุนระยะยาว มีระยะเวลาการลงทุนมากกว่า 3 ปี ขึ้นไป เป็นการลงทุนที่มุ่งสร้างผลตอบแทนที่ดีในอนาคต จากข้อมูลในอดีตการลงทุนในระยะยาวจะช่วยลดความผันผวนจากการลงทุนในระยะสั้น และมีแนวโน้มได้รับผลตอบแทนที่ดีได้ ดังนั้นการลงทุนในระยะยาวจึงสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นได้ เช่น หุ้นกู้ หุ้น กองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น โดยสามารถเลือกลงทุนได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงในระยะสั้นย่อมมีความผันผวนของราคาสูง ดังนั้นหากผู้ลงทุนมีเป้าหมายการลงทุนที่มุ่งสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว การลงทุนแบบนี้จะช่วยลดความกังวลใจหากตลาดเกิดความผันผวนในระยะสั้นได้ อย่างไรก็ตาม หากผู้ลงทุนทำความเข้าใจความเสี่ยงและโอกาสสร้างผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์จะเห็นว่าไม่มีสินทรัพย์ใดที่ให้ผลตอบแทนที่ดีตลอดเวลา การจัดพอร์ตการลงทุนโดยกระจายลงทุนหลาหลายสินทรัพย์ จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วยกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนสะสมที่ดีในระยะยาวได้  

 


                เปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัดของการลงทุน ระยะสั้น VS ระยะยาว 


การลงทุนระยะสั้น โดยการจับจังหวะการลงทุนมีความเสี่ยงที่สูง เนื่องจากเป็นการเก็งกำไรจากความผันผวนของตลาด ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุได้รับผลตอบแทนที่สูงหรืออาจจะต้องสูญเสียจนถึงขั้นขาดทุนจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้เช่นกัน  

การลงทุนระยะยาว แม้ผลตอบแทนจะไม่หวือหวาเท่ากับการลงทุนในระยะสั้น แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากผลตอบแทนทบต้น และการลงทุนแบบนี้ยังมีความเสี่ยงและความผัวผวนต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการลงทุนระยะสั้น ซึ่งการลงทุนระยะยาวแม้ตลาดมีความผันผวนมากก็จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ แต่หากผู้ลงทุนหรือสมาชิกต้องการปรับแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดก็สามารถทำได้ เช่น เปลี่ยนเป็นแผนการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำลง เพื่อลดความผันผวนสักระยะหนึ่ง และเมื่อตลาดกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลหรือมีทิศทางที่จะเติบโตจึงเปลี่ยนเป็นแผนการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้นในช่วงที่ตลาดกำลังเติบโตได้นั่นเอง 

 

                สมาชิก กบข. ลงทุนอย่างไรในช่วงสถานการณ์ลงทุนมีความผันผวนสูง 


ปัจจุบันสมาชิก กบข. มีเงินลงทุนที่ส่งเข้ามายังกองทุนฯ เป็นประจำทุกเดือน โดยแบ่งเงินเป็น 2 ส่วน คือ เงินที่สมาชิกนำส่งรายเดือนด้วยตัวเอง และส่วนที่ภาครัฐนำส่งเข้ามาสมทบให้อีทุกเดือนด้วยเช่นกัน ซึ่งการนำส่งเงินในทุกเดือนนี้ก็เป็นการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุนหรือที่เรียกว่า Dolla cost average (DCA) ดังนั้นเมื่อตลาดลงทุนมีความผันผวนสูงส่งผลให้มูลค่าต่อหน่วยปรับราคาลดลง สมาชิกอาจถือโอกาสนี้สะสมหน่วยลงทุนเพิ่มด้วยการ “ออมเพิ่ม” ซึ่งนอกจากจะทำให้สมาชิกได้ซื้อหน่วยลงทุนในราคาที่ถูกลงกว่าสถานการณ์ปกติแล้ว จำนวนหน่วยลงทุนสะสมในบัญชีของสมาชิกก็จะมากขึ้นอีกด้วย และเมื่อตลาดกลับมาฟื้นตัวหรือมีแนวโน้มเติบโตขึ้น มูลค่าต่อหน่วยก็จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อนำมาคูณกับจำนวนหน่วยที่สมาชิกสะสมไว้ มูลค่าเงินในบัญชีของสมาชิกก็ปรับเพิ่มขึ้นได้  

ทั้งนี้สำหรับสมาชิกที่ต้องการเปลี่ยนแผนการลงทุนในช่วงสถานการณ์ลงทุนผันผวน โดยการจับจังหวะการลงทุนในระยะสั้น สมาชิกควรเข้าใจสินทรัพย์การลงทุนในแผนการลงทุนที่สมาชิกเลือกเป็นอย่างดีและควรติดตามสถานการณ์ลงทุนอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญสมาชิกไม่ควรเปลี่ยนแผนการลงทุนบ่อยครั้งเกินไปเพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อการตัดสินใจผิดพลาดได้   

จะเห็นว่าทั้งการลงทุนระยะสั้น และการลงทุนระยะยาวนั้นต่างมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป มาถึงตรงนี้สมาชิกคงพอมีแนวทางแล้วว่าการลงทุนแบบใดเหมาะกับตัวเองมากที่สุด และสามารถวางเป้าหมายการลงทุนของตนเองได้อย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น และการลงทุนในระยะยาว ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้  

ด้วยเหตุนี้ กบข. จึงมีแผนการลงทุนให้สมาชิกเลือกหลากหลาย เพื่อเป็นทางเลือกให้กับสมาชิกเลือกแผนการลงทุนที่เหมาะกับตนเอง โดยแต่ละแผนลงทุนมีนโยบายการลงทุนและระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน สมาชิกจึงควรทำแบบประเมินความเสี่ยงและทำความเข้าใจนโยบายการลงทุนก่อนตัดสินในเลือกแผนการลงทุน หรือสามารถนัดหมายปรึกษาเจ้าหน้าที่ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน ได้ที่ My GPF Application เมนูนัดหมายปรึกษา และเลือกกำหนดเวลาที่สะดวกเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อให้ข้อมูลตามวันและเวลาที่นัดหมาย ซึ่งบริการนี้เป็นบริการพิเศษสำหรับสมาชิก กบข. โดยเฉพาะและไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย