บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

รู้ทัน…ความเสี่ยงการลงทุน




           


เมื่อพูดถึง “ความเสี่ยง” อาจทำให้ใครหลายคนรู้สึกกลัว ทั้งที่ในความเป็นจรงทุกคนต่างต้องพบเจอกับความเสี่ยงในด้านต่างๆ อยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ซึ่งแต่ละคนก็มีวิธีรับมือหรือจัดการกับความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น การพกร่มกันฝนในยามที่ฟ้าฝนไม่เป็นใจ การซื้อประกันอุบัติเหตุหรือประกันสุขภาพ หรือแม้แต่การมีเงินออมสำรองไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน  

 

สำหรับการลงทุนก็เช่นกัน “ความเสี่ยง” มีอยู่ในทุกรูปแบบของการลงทุนไม่ว่าคุณจะลงทุนในสินทรัพย์ใดก็ล้วนมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวัง เราจึงมักได้ยินประโยคเตือนใจนักลงทุนเสมอว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน การรู้เท่าทันความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้ก่อนที่จะเดินเข้าสู่เส้นทางการลงทุน เพื่อให้ลงทุนด้วยความเข้าใจ คอลัมน์เรื่องจากปกฉบับนี้ ขอเริ่มต้นจากการพาสมาชิกไปรู้จักความเสี่ยงที่สำคัญในโลกของการลงทุนซึ่งอยู่ 2 ความเสี่ยงหลักๆ ด้วยกัน คือ  

 

ความเสี่ยงด้านความผันผวน (Volatility Risk) ที่หมายถึงการขึ้นลงของราคาสินทรัพย์ในตลาดที่มักขึ้นลงทุกวัน ความผันผวนจึงเป็นมาตรฐานในการวัดความเสี่ยงในโลกการเงิน ความผันผวนที่สูงอาจมีผลให้รู้สึกตระหนกตกใจหรือตื่นเต้นเร้าใจ แต่สำหรับนักลงทุนระยะยาวแล้วการทำความเข้าใจว่าความผันผวนระยะสั้นเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และมีโอกาสสะสมผลตอบแทนที่ดีได้เมื่อสามารถลงทุนในระยะยาว หากผู้ลงทุนเข้าใจจะช่วยให้ลงทุนโดยไม่หวั่นไหวไปกับภาวะตลาดเพียงชั่วขณะ  

ความเสี่ยงด้านความขาดแคลน (Shortfall Risk) หมายถึงความเสี่ยงที่คุณจะไม่สามารถไปถึงเป้าหมายทางการเงินได้ ตัวอย่างเช่น เก็บเงินมาทั้งชีวิตแต่เมื่อถึงวันที่ต้องเกษียณกลับมีเงินไม่เพียงพอ ความเสี่ยงนี้เป็นความเสี่ยงที่มีความสำคัญมากที่สุดแต่มักไม่ถูกพูดถึง 

 

 การที่จะรู้ทันความเสี่ยงจากการลงทุนได้นั้น นอกจากคุณจะต้องรู้จักความเสี่ยงของการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ แล้ว คุณควรรู้ระดับความเสี่ยงที่ตัวเองยอมรับได้ด้วย เพื่อช่วยให้รู้ว่าคุณเหมาะกับการลงทุนในสินทรัพย์แบบใด เช่น ไม่ค่อยชอบความเสี่ยง รู้สึกกังวลใจหากยอดเงินผันผวนหรือลดลง อาจเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่หากชอบเสี่ยงเป็นชีวิตจิตใจ เข้าใจและรอได้หากราคาผันผวน คาดหวังผลตอบแทนสูง ก็สามารถเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงๆ ได้  โดยสิ่งสำคัญที่เราควรคำนึงถึงเสมอ คือ “ความเสี่ยงและผลตอบแทนเป็นของคู่กัน หากความเสี่ยงสูง ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูง  แต่หากความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนที่ได้ก็ต่ำตามไปด้วย  

 

สำหรับสมาชิก กบข. การรู้ระดับความเสี่ยงที่ตัวคุณเองยอมรับได้จะช่วยให้คุณสามารถเลือกแผนการลงทุน กบข. ได้อย่างเข้าใจ เพื่อสร้างโอกาสได้รับผลตอบแทนที่งอกเงยตามที่คาดหวัง และสอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนเพื่อวัยเกษียณของคุณได้ ซึ่งการลงทุนกับ กบข. เป็นการลงทุนระยะยาวเพื่อเป้าหมายในวัยเกษียณ ดังนั้น กบข. จึงได้ดีไซน์แบบประเมินความเสี่ยงการลงทุนที่เหมาะกับเป้าหมายเกษียณสำหรับสมาชิกโดยเฉพาะ และแนะนำให้สมาชิกทำแบบประเมินความเสี่ยงก่อนตัดสินใจเลือกแผนการลงทุนทุกครั้งที่แอป กบข. My GPF Application กดเลือกเมนู “ประเมินความเสี่ยง” โดยผลของการทำแบบประเมินความเสี่ยงด้านการลงทุนของ กบข. จะทำให้สมาชิกทราบระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ พร้อมแนะนำแผนการลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละระดับความเสี่ยงให้สมาชิกใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกแผนการลงทุนเพื่อเป้าหมายเกษียณได้อย่างเหมาะสม  

                    นอกจากนี้ยังมีข้อมูลสำคัญที่สมาชิกควรรู้อีกอย่างก็คือ ปัจจุบัน กบข. มีแผนการลงทุนให้สมาชิกเลือกได้หลากหลายถึง 12 แผน แต่ละแผนการลงทุนมีระดับความเสี่ยงแตกต่างกัน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับสมาชิก โดยแบ่งประเภทของแผนการลงทุนเป็น 2 ประเภทคือ แผนสำรับ เป็นแผนที่มีนโยบายการลงทุนกระจายหลากหลายสินทรัพย์ โดยแต่ละแผนจะมีสัดส่วนการลงทุนแตกต่างกัน เช่น แผนหลัก แผนหุ้น 35 แผนหุ้น 65 หรือ แผนสมดุลตามอายุ (สัดส่วนใหม่)  หากสมาชิกเลือกแผนสำรับจะสามารถเลือกได้แค่ 1 แผนเท่านั้น ส่วนแผนอีกประเภทคือ “แผนสินทรัพย์” ที่แต่ละแผนจะลงทุนในสินทรัพย์ใสินทรัพย์หนึ่ง เช่น แผนเงินฝากและตราสารหนี้ แผนตราสารหนี้ แผนตราสารหนี้ต่างประเทศ แผนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ แผนหุ้นต่างประเทศ แผนหุ้นไทย และแผนทองคำ โดยสมาชิกสามารถเลือก 1 แผน หรือ ผสมสัดส่วนการลงทุนโดยเลือกมากกว่า 1 แผนสินทรัพย์และระบุสัดส่วนของแต่ละแผนการลงทุนได้ตามต้องการ จาก 7 แผนสินทรัพย์ ที่ กบข. มีให้เลือก (ยกเว้นแผนทองคำ ที่เลือกสัดส่วนสูงสุดได้ไม่เกิน 10% ของเงินที่เลือกแผนได้)   


                    ทั้งนี้เมื่อสมาชิกทำแบบประเมินความเสี่ยงแล้วทราบระดับความเสี่ยงของตนเองแล้ว ควรเลือกแผนการลงทุนให้เหมาะกับระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ และต้องไม่ลืมคำนึงถึงเป้าหมายของการลงทุนด้วยว่าเพื่ออะไร มีระยะเวลาในการลงทุนอีกนานแค่ไหน รวมถึงการเตรียมความพร้อมทางจิตใจหากเกิดสถานการณ์การลงทุนผันผวนหรือเมื่อผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ อย่างไรก็ตามแม้การลงทุนมีความเสี่ยง แต่การไม่ลงทุนเลยก็มีความเสี่ยงที่อาจทำให้เราไปไม่ถึงเป้าหมายหรือมีเงินไม่พอใช้ในบั้นปลายของชีวิตได้เช่นกัน และอย่าลืมว่าการลงทุนที่มีความเสี่ยงมากที่สุด คือ การลงทุนโดยที่เราไม่รู้จักและไม่เข้าใจ ดังนั้น การรู้ทันความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ลงทุนต้องรู้ เพราะนอกจากจะทำให้เราเข้าใจ “ความเสี่ยง” และ “โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทน” แล้ว ท้ายที่สุดจะทำให้เราลงทุนได้อย่างมีความสุขด้วยเป้าหมายที่ชัดเจนเพราะเข้าใจในสิ่งที่กำลังลงทุนอยู่นั่นเอง