บริการสมาชิก
บริการดิจิทัล
แผนการลงทุน
ออมเพิ่ม
ออมต่อ
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน
ความรู้คู่การออม
ปฏิทินกิจกรรม
วารสาร กบข.
แบบฟอร์มต่างๆ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพบริการสมาชิก

ออมต่อ รอจังหวะ




            


            ในสถานการณ์การลงทุนทั่วโลกมีความผันผวน สมาชิกที่ใกล้เกษียณมักมีความกังวลใจเกี่ยวกับการขอรับเงินคืนจาก กบข. ว่าในช่วงเวลาเช่นนี้ควรจะบริหารจัดการเงินส่วนนี้อย่างไรดี ซึ่งหากเรามองย้อนกลับไปในอดีตจะพบว่าเหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้น ดังเช่นวิกฤตการเงินครั้งใหญ่อย่าง Hamburger Crisis หรือ วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2551 เรียกได้ว่าเป็นวิกฤตการเงินของสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก และในปีเดียวกันนี้ทำให้ผลการดำเนินการของ กบข. จากที่เป็นบวกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนติดลบอยู่ที่ 5.17% ส่งผลให้มูลค่าต่อหน่วยของแผนหลัก (NAV/Unit) ลดลงจากปี 2550 จากเหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลต่อสมาชิกที่เกษียณอายุราชการในปี 2551 และตัดสินใจแจ้งขอรับเงินคืนจาก กบข. ทั้งจำนวนได้รับยอดเงินในส่วนของผลประโยชน์ที่สะสมมาตั้งแต่เริ่มเป็นสมาชิกลดลง ในขณะที่สมาชิกบางส่วนที่ตัดสินใจคงเงินไว้กับ กบข. โดยใช้บริการ “ออมต่อ” เพื่อให้ กบข. บริหารเงินต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจากข้อมูลในอดีตจะเห็นได้ว่าหลังจากออมต่อเพียงแค่ 1 ปี ในปีถัดมามูลค่าต่อหน่วยของแผนหลัก (NAV/Unit) ก็กลับมาเพิ่มขึ้นถึง 8.92%

            จากข้อมูลอ้างอิงที่น่าสนใจของสมาชิกออมต่อในปี 2551 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามี 3 ปัจจัยที่ส่งผลให้ยอดเงินออมต่อเพิ่มขึ้นหรือลดลง คือ 1. ระยะเวลาในการออมต่อ หากออมต่อมากกว่า 3 ปี มีโอกาสสูงที่ยอดเงินจะไม่ลดลง 2. มูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) ณ วันที่นำเงินออก และ 3. รูปแบบการออมต่อ หากออมต่อทั้งจำนวนมีโอกาสทำให้ยอดเงินเพิ่มขึ้นมากกว่าการออมรูปแบบอื่น โดยปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อยอดเงินออมต่อที่ควรทราบคือ มูลค่าต่อหน่วย (NAV/Unit) วันที่ออมต่อ กับ มูลค่าต่อหน่วย วันที่นำเงินออก ดังนั้น บริการ “ออมต่อ” จึงเป็นทางเลือกในการวางแผนบริหารจัดการเงิน กบข. โดยให้ กบข. บริหารเงินต่อเพื่อรอจังหวะให้มูลค่าต่อหน่วยเป็นราคาที่สมาชิกพึงพอใจ หรือ เพื่อเพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนจากเงินออมหลังเกษียณมากขึ้น   

 


ทางเลือกในการบริหารจัดการเงิน กบข. สำหรับสมาชิกเกษียณ


            กรณี สมาชิกยังไม่มีแผนใช้เงิน กบข.  

เนื่องด้วยคุณอาจมีรายได้หลังเกษียณจากแหล่งอื่นอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้เงินก้อนนี้ การออมต่อทั้งจำนวนจะช่วยให้คุณสามารถรอจังหวะเวลาให้มูลค่าต่อหน่วยปรับตัวขึ้นจนเป็นราคาที่พึงพอใจ หรือเพื่อรอให้ผลตอบแทนสะสมกลับมาเพิ่มขึ้นแล้วจึงเลือกรูปแบบการขอรับเงินคืนภายหลัง รวมทั้งสมาชิกที่ต้องการบริหารเงินออมหลังเกษียณโดยให้ กบข. บริหารเงินทั้งหมดให้ต่อเนื่องเพื่อสร้างผลตอบแทนให้เพิ่มขึ้น  

แนวทาง แนะนำเลือกใช้บริการออมต่อรูปแบบที่ 1 “ออมต่อทั้งจำนวน” 

 


            กรณี สมาชิกมีแผนใช้เงินก้อนบางส่วน  

หรือต้องการทยอยถอนเงินไว้ใช้จ่ายเป็นประจำหลังเกษียณนอกเหนือจากเงินบำนาญที่ได้รับ โดยเงินส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ต้องการให้ กบข. บริหารเงินเพื่อสร้งผลตอบแทนต่อไป 

แนวทาง แนะนำเลือกใช้บริการออมต่อรูปแบบที่ 2-4 ดังนี้   

รูปแบบที่ 2 “ออมต่อโดยขอทยอยรับเงินคืนเป็นงวดๆ” เช่น รายเดือน ราย 3 เดือน ราย 6 เดือน หรือรายปี 

รูปแบบที่ 3 “ขอรับเงินคืนบางส่วน ส่วนที่เหลือออมต่อ 

รูปแบบที่ 4 “ขอรับเงินคืนบางส่วน ส่วนที่เหลือออมต่อ แล้วทยอยขอรับคืนเป็นงวดๆเช่น รายเดือน ราย 3 เดือน ราย 6 เดือน หรือรายปี 



 

เมื่อสมาชิกเลือกรูปแบบออมต่อแล้ว หากภายหลังต้องการใช้เงินหรือเปลี่ยนรูปแบบการขอรับเงินคืนก็สามารถเปลี่ยนได้ ปีละ 2 ครั้ง/รอบปีปฎิทิน  

นอกจากนี้ ผู้ออมต่อยังสามารถเลือกหรือเปลี่ยนแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หรือ สอดคล้องกับเป้าหมายการใช้เงิน โดยเปลี่ยนได้ 12 ครั้ง/รอบปีปฏิทิน โดยแจ้งความประสงค์ได้ผ่าน 3 ช่องทาง คือ  My GPF Application และ My GPF Website หรือ LINE กบข. @gpfcommunity 

 

สำหรับสมาชิก กบข. ที่กำลังจะสิ้นสุดสมาชิกภาพและมีความกังวลใจเกี่ยวกับมูลค่าต่อหน่วยลงทุนที่ปรับตัวลดลงตามภาวะตลาด การเลือกใช้บริการออมต่อในรูปแบบ “ออมต่อทั้งจำนวน” จะช่วยให้คุณสามารถบริหารเงินหลังเกษียณเพื่อรอจังหวะเวลาให้ได้มูลค่าต่อหน่วย (NAV/unit) เป็นที่พอใจ แล้วจึงพิจารณาเปลี่ยนรูปแบบการขอทยอยรับคืนได้ตามที่คุณต้องการ (รูปแบบที่ 2-4) นอกจากนี้ผู้ออมต่อยังสามารถรับสวัสดิการสิทธิพิเศษที่คัดมาเพื่อผู้ออมต่อโดยเฉพาะ โดยกดรับสิทธิ์ได้ที่ เมนูสิทธิพิเศษ และ GPF Point ผ่าน 2 ช่องทาง คือ  My GPF Application และ LINE กบข. @gpfcommunity 



                         ทั้งนี้ หากยังไม่แน่ใจว่าจะออมต่อรูปแบบใด หรือ อยากทราบเงื่อนไขการใช้บริการออมต่อ หรือไม่แน่ใจว่าควรลงทุนแผนใดถึงจะเหมาะสมกับตนเอง คุณสามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกแผนการลงทุนได้ที่ ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน กบข. นัดหมายได้ที่ เมนูนัดหมายปรึกษา บน My GPF Application โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น