นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
การลงทุนอย่างรับผิดชอบ
การดำเนินการต่อต้านการทุจริต
มาตรการภายในเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต
การประเมิน ITA
หน้าหลัก
ตำแหน่งที่เปิดรับ
กรอกใบสมัคร
วิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจำหน่ายทรัพย์สิน
MCS Web
แบบฟอร์ม
งาน กบข.
กิจกรรมต่าง ๆ
ภาพการลงทุนอย่างรับผิดชอบ

เกณฑ์การประเมิน ITA ปี 2567

กบข. ได้เข้าร่วมโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ที่จัดโดยของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ตามแผนงานยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อให้ทราบผลการประเมินและแนวทางในการพัฒนาเพื่อยกระดับให้เป็นองค์กรที่มีคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล สำนักงาน ป.ป.ช. ได้กำหนดเกณฑ์ในการประเมิน 3 ส่วน รวมทั้งสิ้น 10 ตัวชี้วัด และเป็นการประเมินทั้งจากบุคลากรภายในหน่วยงานผู้มีส่วนได้เสียภายนอก และการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานต่อสาธารณะ ดังนี้

ส่วนที่ 1 แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment หรือ IIT) โดยสอบถามการรับรู้และความคิดเห็นใน 5 ตัวชี้วัด จากบุคลากรภายในหน่วยงานที่ปฏิบัติงานมาไม่น้อยกว่า 1 ปี ได้แก่

ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ เป็นไปตามมาตรฐาน มีความโปร่งใส ตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนด
ตัวชี้วัดที่ 2 การใช้งบประมาณ อย่างคุ้มค่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเปิดเผยอย่างโปร่งใส
ตัวชี้วัดที่ 3 การใช้อำนาจ ของผู้บังคับบัญชา ในการมอบหมายงาน การประเมินผล ฯลฯ อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของหน่วยงาน โดยบุคลากรในหน่วยงานไม่มีพฤติกรรมนำทรัพย์สินของหน่วยงานไปเป็นของตนเองหรือนำไปให้ผู้อื่น
ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาทุจริต โดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตอย่างจริงจัง

ส่วนที่ 2 แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment หรือ EIT) โดยสอบถามการรับรู้และความคิดเห็นใน 3 ตัวชี้วัด จากผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อหน่วยงานภาครัฐในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้แก่

ตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงาน การปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักตามมาตรฐาน ขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ไม่เลือกปฏิบัติ
ตัวชี้วัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสาร การเผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงานต่อสาธารณชนผ่านช่องทางที่หลากหลาย สามารถเข้าถึงได้ง่ายและไม่ซับซ้อน
ตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงระบบการทำงาน ทั้งของเจ้าหน้าที่และกระบวนการทำงานของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานให้เกิดความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ส่วนที่ 3 แบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment หรือ OIT) เป็นการตรวจสอบระดับการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงาน ผ่านทางเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน แบ่งเป็น 2 ตัวชี้วัด ได้แก่

ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล ของหน่วยงานในเรื่องต่างๆ ตามเกณฑ์การประเมิน
ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต ในเรื่องการดำเนินการและการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริต
ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล
ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต